Page 395 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 395

K28


                         7. ไม่พบอัตราการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยเบาหวานที่จำหน่ายจากหอผู้ป่วยในหญิง
                  ด้วยภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด(Hypoglycemia) / ด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) /

                  ด้วยภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Hyperglycemic hyperosmolar state (HHS) / ด้วยภาวะน้ำตาลในเลือด
                  สูงชนิด Diabetic ketoacidosis (DKA)

                  อภิปรายผล
                         1. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง หอผู้ป่วยในหญิงได้รับการ
                  วางแผนจำหน่าย 100 %

                         2. อัตราการปฏิบัติตามแนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนแบบ
                  เฉียบพลันและแบบเรื้อรังของพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยในหญิง 95 %
                         3. อัตราความพึงพอใจของสหวิชาชีพต่อการวางแผนจําหน่ายผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนแบบ
                  เฉียบพลันและแบบเรื้อรังโดยใช้นวัตกรรม 7 Do  2 Pass SMART goal ที่พัฒนาขึ้น 90%

                         4. อัตราความพึงพอใจขอผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบ
                  เรื้อรังต่อการวางแผนจำหน่ายของหอผู้ป่วยในหญิง ผู้ป่วย 85.83 % ผู้ดูแล 82.85 %
                         5. ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังมีพฤติกรรมการ
                  ดูแลตนเองในระดับมาก 70 %

                         6. อัตราการกลับมารักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
                  ในผู้ป่วยรายเก่า ร้อยละ 0

                  ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน
                         1. ผลจากการใช้นวัตกรรม 7 Do 2 Pass SMART Goal ทำให้พยาบาล Discharge planner

                  ทำงานง่ายขึ้น และโทรแจ้งสหวิชาชีพหลังรับเวรเช้าของทุกวันบางครั้งทีมสหวิชาชีพเข้ามาพร้อมกัน ทำให้
                  เสียเวลาในการรอ
                         2. ทีมสหวิชาชีพเข้ามาพร้อมกัน สอนต่อเนื่องกันทำให้มีเนื้อหามากเกินที่ผู้ป่วยและผู้ดูแล
                  จะรับรู้ได้ครบทุกเนื้อหา
                         3. ผู้ดูแลไม่ได้อยู่ดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา บางสหวิชาชีพต้องนัดนอกเวลา


                  ข้อเสนอแนะ
                         1. บุคลากรพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพ มีสมรรถนะแตกต่างกัน ทำให้มีความรู้ความชำนาญ และ
                  ประสบการณ์เกี่ยวกับการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาซับซ้อนแตกต่างกัน จึงควรมีการพัฒนา
                  สมรรถนะด้านการวางแผนจำหน่าย หรือจัดอบรมเพิ่มเติมทั้งการอบรมภายใน และภายนอก โรงพยาบาล
                         2. ขั้นตอนการวางแผนจำหน่ายในระยะแรกรับ เกี่ยวกับการค้นหาผู้ดูแลหลักในระยะแรกรับอาจ

                  ไม่มีผู้ดูแลหลักหรือผู้ดูแลไม่พร้อม (ไม่ทันตั้งตัว) จึงควรมีขยายเวลาในขั้นตอนนี้ให้เกิดการยืดหยุ่น
                  ต่อการ ปฏิบัติหรือในการค้นหาผู้ดูแลหลัก เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างพยาบาล ผู้ป่วยและผู้ดูแล
                         3. ควรมีการกำหนดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลให้ชัดเจน จะช่วยให้สามารถเตรียมความพร้อม

                  ในการจำหน่ายได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีความพร้อมในการจำหน่ายและมีความพึงพอใจ
                  มากยิ่งขึ้น
                         4. ควรจัดให้มีแนวทางการวางแผนจำหน่ายในกลุ่มโรคที่สำคัญ เพื่อให้มีแนวทางการวางแผนการ
                  จำหน่ายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเป็นการส่งเสริม การเรียนรู้ และเพิ่มศักยภาพของบุคลากร

                  ในการวางแผนจำหน่ายกลุ่มโรคที่สำคัญ
   390   391   392   393   394   395   396   397   398   399   400