Page 405 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 405

K38


                  บุรีรัมย์ โดยมีเกณฑ์คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการดังนี้ 1) ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 2) ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ

                  HbA1C > 7  mg% ที่เริ่มรักษาภายในระยะเวลา 5 ปี และมีอายุ 35 – 60 ปี  3) สมัครใจร่วมโครงการ
                  การวัดประเมินผลได้จากการวัดผลค่าน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) และค่าดัชนีมวลกาย ( BMI ) ก่อนและหลังการ
                  เข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้เวลาระยะการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม 2566 – มีนาคม 2567

                  เป็นระยะเวลา 1 ปี
                  ผลการศึกษา

                         ผู้ป่วยเบาหวานที่สมัครใจร่วมโปรแกรม จำนวน 21 คน ชาย 3 คน หญิง 18 คน ประเมินภาวะ
                  โภชนาการและตอบแบบสอบถาม  ด้านความรู้เรื่องโรคเบาหวานภาวะแทรกซ้อน 8 ข้อคำถาม ตอบได้ร้อยละ
                  38.09 ด้านอารมณ์จิตใจ มีความเครียดน้อย (0-4 คะแนน) ร้อยละ 28.57 มีความเครียดปานกลาง

                  (5-7 คะแนน) ร้อยละ 57.14  ความเครียดมาก (8-9 คะแนน) ร้อยละ 14.28 ด้านพฤติกรรมการรับประทาน
                  อาหาร พบว่ารับประทานอาหารรสหวาน เครื่องดื่มรสหวาน  ร้อยละ 52.38 แต่รับประทานข้าวมื้อละ 2-3
                  ทัพพี ร้อยละ 90.47 ภาวะโภชนาการ ค่าดัชนีมวลกาย ( BMI ) ≤ 24.9 ร้อยละ 28.09 ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
                  ≥ 25 ร้อยละ 61.90 ผลน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C ) ≤ 7  ร้อยละ 28.57 ผลน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C

                  ) > 7 ร้อยละ 71.42    ด้านการรับยาที่ได้ตามแผนการรักษา หลังเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน
                  รูปแบบโรงเรียนเบาหวานวิทยา ตอบแบบสอบถามความรู้โรคเบาหวาน ร้อยละ 71.42 ค่าดัชนีมวลกาย < 24.9
                  ร้อยละ 52.38 ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 25 ร้อยละ 47.61 ค่าน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) < 7 ร้อยละ 61.90
                  ค่าน้ำตาลสะสม ( HbA1C ) ≥ 7 ร้อยละ 38.09 รับประทานอาหารและเครื่องดื่มรสหวานทุกวัน/เกือบทุกวัน

                  ร้อยละ 14.28 รับประทานข้าวมื้อละ 2-3 ทัพพี ร้อยละ 14.28 ผู้ป่วยได้ Off ยาเบาหวาน 6 คน
                  ร้อยละ 28.57 ผู้ป่วยถูกปรับยาเบาหวานลดลง 5 คน ร้อยละ 23.80  ผู้ป่วยรับยาเท่าเดิม 6 คน ร้อยละ 28.57
                  ผู้ป่วยได้รับปรับยาเพิ่มขึ้น 4 คน ร้อยละ 19.04

                  อภิปรายผล
                         การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบเข้มข้นและมีสติภายใต้กระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนเบาหวาน
                  วิทยา สร้างความตะหนักรู้และเสริมแรงจูงใจ ให้ผู้ป่วยเบาหวานมีองค์ความรู้การจัดการภาวะสุขภาพตนเองได้

                  เหมาะสมในแต่ละบุคคล และมีความต่อเนื่องเป็นวิถีชีวิตส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักตัว และระดับน้ำตาล
                  สะสมในเลือด (HbA1C )

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สมัครใจเข้าศึกษาทั้งหมด 21 คน เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ – 5 ปี

                  ผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าศึกษาเรียนรู้ตามเกณฑ์สม่ำเสมอ มีองค์ความรู้ในการควบคุมการประทานอาหาร
                  การบริหารร่างกาย  ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลง ค่าดัชนีมวลกายลด ค่าน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C)
                  ลดลงเช่นกัน

                  ข้อเสนอแนะ
                         1. พัฒนาระบบงานคลินิก DM Remission เชื่อมกับกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ

                  ภายใต้กระบวนการ “โรงเรียนเบาหวานวิทยา”
                         2. พัฒนาการบริการ เชื่อมต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ Health station & Personal Health Record
                  ประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวก

                         3. เป็นต้นแบบด้านสุขภาพและบอกต่อผู้ป่วยอื่นได้
   400   401   402   403   404   405   406   407   408   409   410