Page 406 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 406
K39
ประสิทธิผลของขวดปากเป่าดูดดี (ซีรี่ย์ 4)
นางสาวพรรธิภา มูลดีและ นายแพทย์ปกาสิต โอวาทกานนท์
โรงพยาบาลทรายมูล จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10
ประเภทผลงานทางวิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ไม่สามารถหายใจออกได้อย่างเต็มที่
มีลมค้างในปอดส่งผลต่อการขยายตัวของทรวงอกและการทำงานของปอดลดลง ดังนั้นมาตรฐานการรักษา
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจึงมีแนวทางในการรักษาโดยการรักษาทางยาควบคู่กับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
โดยฝึกบริหารการหายใจ ซึ่งบริหารการหายใจแบบห่อปากเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยควบคุมการหายใจที่ถูกต้อง
ทำให้ความดันภายในปอดลดลง ปริมาตรปอดเพิ่มขึ้น อากาศไหลเข้าสู่ปอดได้ง่ายขณะหายใจเข้า
จึงส่งผลให้ทรวงอกขยายตัวได้มากขึ้นและลดภาวะคั่งค้างของคาร์บอนไดออกไซด์ขณะหายใจออก
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรมขวดปากเป่าดูดดีต่อการฝึกบริหารการหายใจแบบห่อปากในผู้ป่วย
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีความรุนแรงของอาการ
เหนื่อยหอบระดับปานกลางเข้าร่วมวิจัย จำนวนทั้งหมด 26 คนแบ่งเข้ากลุ่ม 2 กลุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก
โดยกลุ่มทดลองฝึกนวัตกรรมขวดปากเป่าดูดดีร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด โดยวิธีการหายใจ
2 รูปแบบคือหายใจเข้าลึกเต็มที่ค้างไว้ 2 วินาทีและหายใจออกด้วยวิธีเป่าให้ลูกบอลค้างไว้ 4 วินาที
จำนวน 5 ครั้ง/รอบ พักระหว่างรอบ 5 นาที จำนวน 3 รอบ รวมเป่า 15 ครั้ง และวิธีดูดให้ลูกบอลค้างไว้
4 วินาที จำนวน 5 ครั้ง/รอบ พักระหว่างรอบ 5 นาที จำนวน 3 รอบ รวมดูด 15 ครั้ง รวมวิธีเป่าและ
ดูดอย่างละ 30 ครั้งทุกวัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดอย่างเดียว เป็นเวลา
6 สัปดาห์ แล้วทำการวัดการขยายตัวของทรวงอกที่ระดับใต้รักแร้ ลิ้นปี่ และกระดูกซี่โครงลำดับที่ 10
ตามลำดับ ทั้งก่อนและหลังการฝึก ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคนได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ซึ่งมีรูปแบบ
โปรแกรม คือ ความรู้เกี่ยวกับโรค (education) ฝึกการหายใจ (breathing exercise)และฝึกออกกำลังกาย
(exercise training) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann - Whitney U test
ผลการศึกษา
จากการศึกษาผลของนวัตกรรมขวดปากเป่าดูดดี พบว่าค่าการขยายตัวของทรวงอกบริเวณปอด
ส่วนล่างภายหลังการฝึกนวัตกรรมขวดปากเป่าดูดดี มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
อภิปรายผล
การศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นผลของการฝึกบริหารการหายใจด้วยนวัตกรรมขวดปากเป่าดูดดี สามารถ
ช่วยเพิ่มการขยายตัวของทรวงอกบริเวณส่วนล่างได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของอัครพล โอกาสพสุ ปี 2559
กล่าวถึงการฝึก costal BE ร่วมกับ SMI และ การฝึกด้วยเครื่อง flow IS สามารถเพิ่มการขยายตัวของทรวงอก
บริเวณปอดส่วนล่างได้เช่นกัน ซึ่งการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าการฝึกบริหารการหายใจแบบห่อปาก เป็นรูปแบบ
เสริมที่ช่วยเพิ่มระยะเวลาของการหายใจออกได้ช้าๆเบาๆให้นานขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาตรของอากาศ