Page 409 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 409

K42

                  กลืน แนะนำการดูแลหลังจากผู้ป่วยจำหน่ายกลับบ้านการใช้ application LINE และการใช้คู่มือฟื้นฟูการกลืน

                  โปรแกรมที่ให้ประกอบไปด้วย ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะกลืนลำบาก การบริหารกล้ามเนื้อปาก
                  ลิ้น และขากรรไกร และการฝึกหายใจ (การหายใจออกอย่างแรงสลับกับการควบคุมการหายใจ และThoracic
                  expansion exercise (TEE))พร้อมอุปกรณ์ฝึกหายใจ “BreatheMAX®” และ โดยให้โปรแกรมฝึกวันละ 1

                  ชั่วโมง เพียง 1 ครั้งต่อ1วัน ฝึกทั้งหมด 3 วัน ขณะอยู่ที่โรงพยาบาล 4) ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
                  ตาม care protocol ขณะเดียวกันมีการรับปรึกษาจากญาติในกรณีเกิดปัญหาขณะให้การฟื้นฟูฯ 5) ติดตาม
                  ผ่านระบบออนไลน์โดยใช้ application LINE เพื่อการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบระบบการฟื้นฟู ตลอดจนรับฟัง
                  ความคิดเห็น ปัญหาและอุปสรรค

                         ระยะที่ 3 การประเมินผลลัพธ์การพัฒนาระบบการฟื้นฟูการกลืน มีการดำเนินการดังนี้
                         3.1 ด้านผู้ป่วย ประเมินความสามารถในการกลืนโดยใช้ แบบประเมินความสามารถกลืน (Functional
                  Oral Intake Scale ;FOIS) ก่อนและหลังการฝึก 1 เดือน
                         3.2ด้านเครือข่ายประเมินร้อยละของผู้ป่วยที่กลับบ้านและได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีม พยาบาล

                  ชุมชน นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด ทั้งแบบติดตามลงชุมชน และ ระบบออนไลน์
                         3.3 ด้านการพัฒนาระบบ ประเมินความพึงพอใจของทีมนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัดและสห
                  วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูการกลืน ผู้ดูแล
                         กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ทีมนักกิจกรรมบำบัดและนักกายภาพบำบัด และพยาบาล

                  ที่ดูแลเรื่องการฟื้นฟูการกลืน จำนวน 10 คน ผู้ป่วยในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีปัญหาการกลืน อายุ
                  ระหว่าง 25 – 70 ปี เป็นโรคหลอดเลือดสมองไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 24 ราย และผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว
                  จำนวน 24 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบก่อนหลังเข้าฟื้นฟูฯ โดยใช้ Paired samples t-test

                  เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลัง และ Independent sample T-test ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูล
                  ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังได้รับโปรแกรม กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
                  และความพึงพอใจของทีมโดยใช้ความถี่ร้อยละ

                  ผลการศึกษา
                         พบว่า ในผู้ป่วยที่เข้าระบบการฟื้นฟูการกลืนมีอายุอยู่ในช่วง 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 58) อายุ เฉลี่ยคือ 63.3ปี

                  (SD = 14.69) เป็นเพศชายส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75) ดัชนีมวลกายส่วนใหญ่อยู่ในระดับผอม ค่าเฉลี่ยคือ 23.76
                  กิโลกรัม/เมตร² (SD = 2.72) และมีการอ่อนแรงในข้างซ้าย และมีภาวะกลืนไม่ได้ (ร้อยละ 58)
                  ที่กลุ่มฝึกแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ในช่วง 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 58) อายุ เฉลี่ยคือ 64.5ปี (SD = 13.7)
                  เป็นเพศชายเท่ากับเพศหญิง ดัชนีมวลกายส่วนใหญ่อยู่ในระดับผอม ค่าเฉลี่ยคือ 24.83 กิโลกรัม/เมตร²
                  (SD = 3.90) และมีการอ่อนแรงในข้างซ้าย (ร้อยละ 58) ส่วนใหญ่มีภาวะไอหลังการกลืน (ร้อยละ 50)

                         ในส่วนของคะแนน ความสามารถในการกลืนของผู้ป่วย พบว่า เมื่อสิ้นสุดการฟื้นฟู ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ย
                  คะแนนความสามารถในการกลืนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-value < 0.05 เมื่อทำการเปรียบเทียบ
                  ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการกลืนที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างกลุ่มที่เข้าระบบฟื้นฟูการกลืนและไม่เข้า

                  ระบบ พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยเข้าระบบฟื้นฟูการกลืนมีคะแนนความสามารถในการกลืนเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่
                  เข้าระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P - value เท่ากับ 0.05
                          สำหรับคะแนนของผู้ป่วยที่กลับบ้านและได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน และติดตามทางระบบออนไลน์
                  โดยทีม พยาบาลชุมชน นักกายภาพบำบัด นักกกิจกรรมบำบัด และCare giver ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านครบ

                  ร้อยละ100 ด้านการพัฒนาระบบ พบว่า คะแนนความพึงพอใจของทีมต่อรูปแบบการฟื้นฟูการกลืน พบว่า
                  เครือข่ายมีความพึงพอใจต่อระบบอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 88.5
   404   405   406   407   408   409   410   411   412   413   414