Page 404 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 404

K37


                          ผลการพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยโปรแกรมปรับเปลี่ยน

                       พฤติกรรมแบบเข้มข้นและมีสติ เข้าสู่เบาหวานระยะสงบในรูปแบบโรงเรียนเบาหวาน


                                                                                  นางสาวยุพาพร ชาญเดชสิทธิกุล
                                                               โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                           ประเภทผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases) ประเทศไทย
                  พบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสน คนต่อปี และ
                  ค่าใช้จ่าย ด้านสาธารณสุขในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่
                  ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบของร่างกาย
                  ทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง อันนำไปสู่ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ดังนั้น

                  การพัฒนาคุณภาพบริการให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2ได้เข้าถึงบริการได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และ
                  มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ  ปัจจุบันมีแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่สามารถช่วย
                  ให้ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ต่ำกว่าเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวาน จนสามารถ

                  หยุดยาเบาหวานได้ เรียกว่า DiabetesRemission หรือโรคเบาหวานระยะสงบ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
                  ของผู้ป่วย ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดภาระทางเศรษฐกิจได้อย่างมาก
                         สถานการณ์อำเภอลำปลายมาศ ปีงบประมาณ 2564 – 2566 พบความชุกการเกิดโรคเบาหวานต่อ
                  แสนประชากร 485.04 , 568.81 และ 780.16 ตามลำดับ หากผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน 5 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะ

                  ผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ในระยะยาว คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
                  โรงพยาบาลลำปลายมาศ มองเห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นการสร้างการจัดการ
                  ภาวะสุขภาพตนเองของผู้ป่วย จึงพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานบูรณาการส่งเสริม
                  การจัดการสุขภาพตนเอง ผ่านกระบวนการภายใต้โรงเรียนที่ชื่อว่า “โรงเรียนเบาหวานวิทยา”


                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน มีการจัดการสุขภาพตนเองได้ ระดับ BMI ระดับ HbA1C ลดลงอย่างต่อเนื่อง
                  จนสามารถปรับลดยา หรือหยุดยาเบาหวานได้ ภายใต้การดูแลสหวิชาชีพ

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษานี้ ประยุกต์ใช้จาก แนวคิดทฤษฎี การจัดการตนเองของ Kanfer,(1991) และ Creer, (2000)
                  มีพื้นฐานพัฒนามาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ( Social Learning  Therapy ) ซึ่งการเรียนรู้ทางสังคม

                  เป็นการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ปรับเปลี่ยนได้ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตนเอง
                  (Self-Regulation) ซึ่งประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การตั้งเป้าหมาย (Goal  setting) 2) การรวบรวม
                  ข้อมูล(Information Collection and Education Subgroup) 3) การประมวลและประเมินข้อมูล
                  (Information Processing and Evaluation) 4) การตัดสินใจ (Decision Marking) 5) การลงมือปฏิบัติ

                  (Action ) 6) การสะท้อนตนเอง ( Self-Reaction) 7) การติดตามตนเองจากพฤติกรรมของตนเอง
                  (Self-Monitoring) 8) การเปรียบเทียบเป้าหมายที่ตั้งไว้กับพฤติกรรมที่สามารถปฏิบัติได้จริงหรือเป็นขั้นตอน
                  ประเมินผล (Self-Evaluation) และ9) การเสริมแรงตนเอง (Self-Reinforcement) กลุ่มเป้าหมาย คือ

                  ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัด
   399   400   401   402   403   404   405   406   407   408   409