Page 403 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 403

K36


                  ผลการศึกษา
                         กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้า (FBS) ก่อนรับประทานข้าวต้ม กข.43
                  ปลอดสารพิษกับข้าวต้มหอมมะลิไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (132.39±32.08 : 132.80 ± 36.27,

                  MD = 0.41±31.55, 95% CI = -5.24 - 6.07, P = 0.886) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือด
                  หลังรับประทานข้าวต้ม 2 ชม. (2 Hour Postprandial Glucose) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                  โดยระดับน้ำตาลในเลือดหลังกินข้าวต้ม กข.43 น้อยกว่าข้าวต้มหอมมะลิ (167.39 ± 43.97 : 189.48
                  ± 55.76, MD = 22.09±42.77, 9 5 %  CI = 14.42 - 29.76, P = 0 . 000) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวาน
                  มีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นหลังรับประทานข้าวต้ม กข.43 ปลอดสารพิษ กับข้าวต้มหอมมะลิ แตกต่างกัน

                  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (35.01 ± 27.43 :   56.69 ± 36.61, MD = 21.68 ± 33.50, 9 5 %  CI =
                  15.68 - 27.69, P = 0.000)























                  อภิปรายผล
                         กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานข้าวต้ม กข.43 ปลอดสารพิษ มีระดับน้ำตาลในเลือด
                  หลังอาหาร (2 hour postprandial glucose) เพิ่มขึ้นน้อยกว่ากลุ่มที่รับประทานข้าวต้มหอมมะลิ

                  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลสอดคล้องกัน ใน รพ.สต.ทั้ง 3 แห่งที่เข้าร่วมงานวิจัย สอดคล้องกับข้อมูล
                  เรื่องข้าวกข.43 มีดัชนีน้ำตาลระดับปานกลางค่อนข้างต่ำจึงไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง เหมาะกับคนไข้
                  เบาหวานที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สมควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานอย่างต่อเนื่อง

                  แล้วศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสม HbA1c และผลลัพธ์สุดท้าย เรื่องของ เบาหวานระยะ
                  สงบ Diabetic Remission Rate ในการศึกษาวิจัยต่อไป

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         จากผลการศึกษานี้พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวาน
                  หลังรับประทานข้าวต้ม กข.43 ปลอดสารพิษ น้อยกว่า ข้าวต้มหอมมะลิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจาก

                  เป็นข้าวที่มีค่าดัชนีน้ำตาลระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง นอกจากนี้ยัง
                  มีความนุ่มหอม และรับประทานทานง่ายกว่าข้าวกล้อง จึงเป็นข้าวที่สมควรได้รับการสนับสนุนให้ผู้ป่วย
                  เบาหวานรับประทาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
                  ทั้งนี้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานคือข้าว กข.43 เป็นข้าวที่หาซื้อยาก หาเมล็ดพันธุ์หรือต้นกล้าได้ลำบาก

                  สมควรได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง ในการช่วยสนับสนุนเกษตรกร และผู้ป่วยเบาหวานให้เข้าถึงข้าว
                  ที่มีประโยชน์นี้
   398   399   400   401   402   403   404   405   406   407   408