Page 408 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 408

K41

                                          การพัฒนาระบบฟื้นฟูสมรรถภาพการกลืน

                                 ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง โรงพยาบาลศรีสะเกษ



                                                                นางกิ่งกาญจน์  ดาหา และนางสาวกนิษฐา เสนาะเสียง
                                                              โรงพยาบาลศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เขตสุขภาพที่ 10
                                                                                               ประเภทวิชาการ



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองพบภาวะการกลืนลำบากมากถึงร้อยละ 50 โดยเกิดปอดอักเสบ
                  จากการสำลักได้ร้อยละ 16 - 33 ส่งผลให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น

                  ถึงร้อยละ 35 สำหรับจังหวัดศรีสะเกษ ในปี 2560 - 2562 มีอัตราการตาย 26, 29 และ 29 รายต่อประชากร
                  แสนคนตามลำดับ โดยอัตราการตายนั่นเพิ่มขึ้นทุกปี โรงพยาบาลศรีสะเกษ ปี งบประมาณ 2565 มีผู้ป่วย
                  โรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาการกลืนจำนวนทั้งสิ้น 4,499 ราย พบว่าได้รับบริการฟื้นฟูทางการกลืนเพียง 1,930
                  ราย คิดเป็นร้อยละ 42.9 โดยได้รับบริการแบบผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก แต่ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติในการฟื้นฟู
                  สมรรถภาพการกลืนอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ในการดูแลและฟื้นฟูภาวะกลืนลำบากนั้น ต้องทํางาน

                  ร่วมกันเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพใช้องค์ความรู้ที่หลากหลาย ในการรักษาฟื้นฟู เพื่อฝึกกลืน ฝึกหายใจและฝึกไอ
                  กระตุ้นการทำงานและเพิ่มความแข็งแรงของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการกลืน อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีการสำลัก
                  อาหารลดลงและมีระบบทางเดินหายใจที่ดีขึ้น  ซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถในการกลืน เพิ่มสมรรถนะ

                  ร่างกาย จิตใจ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และลดอัตราการนอนซ้ำในโรงพยาบาล รวมทั้งให้ผู้ป่วยโรค
                  หลอดเลือดสมองได้กลับไปรับประทานอาหารได้ตามปกติและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้น
                  ผู้วิจัยจึงพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อพัฒนาระบบการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยผล
                  การศึกษาที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทางและเครื่องมือที่ให้บริการการฟื้นฟูในผู้ป่วยกลืนลำบาก

                  เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การสำลักและปอดอักเสบติดเชื้อในกลุ่มผู้ป่วย
                  โรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลศรีสะเกษต่อไป

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพการกลืน และการดูแลต่อเนื่อง โรงพยาบาลศรีสะเกษ

                  วิธีการศึกษา
                         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีขั้นตอนในการวิจัยแบ่งเป็น

                  3 ระยะ ได้แก่
                         ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสถานการณ์ จำนวนผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน และจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการ
                  ฟื้นฟูสมรรถภาพ และวิธีการดูแลต่อเนื่องโดย 1) การทบทวนกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพการกลืน การเข้าถึง
                  บริการการฟื้นฟู กระบวนการติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องหลังจากถูกจำหน่ายกลับบ้าน ปี พศ. 2565 2) ค้นหา

                  ปัญหา ความต้องการและอุปสรรคในการเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยและผู้ดูแล
                         ระยะที่ 2 นำผลการศึกษาจากระยะที่ 1 มาพัฒนาระบบการฟื้นฟูการกลืน ดังนี้ 1) จัดทำแนวทาง
                  ปฎิบัติ Care protocol ในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก และแบบคัดกรองการกลืน 2) ประสานงานเตรียมความ

                  พร้อมโดยมีพยาบาลตึกผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคัดกรองผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก นักกายภาพบำบัดและ
                  กิจกรรมบำบัดประเมินและฟื้นฟูการกลืนในผู้ป่วย 3) ให้ความรู้รายกลุ่ม ทั้งผู้ดูแลและผู้ป่วยเรื่องการฟื้นฟูการ
   403   404   405   406   407   408   409   410   411   412   413