Page 46 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 46

A7


                                  การพัฒนาคุณภาพระบบการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
                                 โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพเฉพาะโรคในจังหวัดสงขลา



                                                                                       นางสาวนัชชา สุนทรสวัสดิ์
                                                                 โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เขตสุขภาพที่ 12
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต
                  ในโรงพยาบาลหาดใหญ่และเขตสุขภาพที่ 12 การเข้าถึงบริการเปิดหลอดเลือดที่รวดเร็ว ในบริบทของจังหวัด

                  สงขลา การทบทวนข้อมูลผู้ป่วย พบว่าปัญหาที่พบ ได้แก่ (1) ความล่าช้าในการทำ EKG (2) ความล่าช้าในการ
                  แปลผล EKG (3) ความล่าช้าในการเตรียมทีมให้มีความพร้อมในการดูแล (4)ความล่าช้าในการส่งต่อ เป้าหมาย
                  สำคัญของการรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือการช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือด
                  ไปเลี้ยงโดยเร็วที่สุด โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการทำหัตถการทางหลอดเลือดหัวใจ การประเมินอาการ

                  และตรวจวินิจฉัย รวมทั้งการบริหารจัดการการดูแลที่เหมาะสมอย่างรวดเร็วช่วยลดโอกาสสูญเสียชีวิต
                  จากภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่าง ๆ ได้ การลดขั้นตอน การประสานงานที่ดีระหว่างทีมที่รวดเร็วและ
                  มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อค้นหาวิธีการปฏิบัติที่ดี (good practice) เฉพาะโรค/เฉพาะระบบ เพื่อเป็นต้นแบบ และ

                  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการพัฒนาต่อเนื่องและต่อยอดสำหรับสถานพยาบาลอื่น ๆ ต่อไป
                         2. เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่มีความเฉพาะเจาะจง ยกระดับระบบริการสู่ความเป็นเลิศ โดยการ
                  ทบทวนการดูแลรักษาการตามรอยโรคและตัวชี้วัด (tracer)
                         3. เพื่อขยายการพัฒนาสู่คุณภาพและการสร้างทีมพัฒนาคุณภาพส่วนอื่น ๆ ขององค์กร ทำการต่อ

                  ยอดไปในโรคอื่น ๆ ทำให้เกิดการขยายผล ทีมพัฒนาเฉพาะโรค/เฉพาะระบบทั้งองค์การและครอบคลุมมากขึ้น

                  วิธีการศึกษา
                         1) ทบทวนกระบวนการดูแลผู้ป่วย STEMI โดยใช้กรอบการพัฒนาคุณภาพเฉพาะโรค ตามมาตรฐาน
                  โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ประกอบด้วย

                            1.1 กำหนดเป้าหมาย โดยมองผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง กำหนดทีมพัฒนา และวางแผนการ
                  การดำเนินการ
                            1.2 รับรู้สถานการณ์จากการตามรอย กระบวนการดูแลทั้งจาก ER โรงพยาบาลเครือข่าย
                  โรงพยาบาลชุมชน สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติการประชุมเครือข่ายระดับจังหวัด และการถอดบทเรียนการดูแล
                  ในระดับเขตสุขภาพ

                            1.3 วิเคราะห์ เก็บข้อมูล ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ และจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนา
                            1.4 ตั้งเป้า โดยประเด็นความท้าทายคือทำอย่างไรที่จะให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการสวนหัวใจได้ภายใน
                  เวลาที่เหมาะสมเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและติดตามตัวชี้วัดใน Process ที่สำคัญ
                             1.5 ปรับปรุงแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับปัญหาที่พบ และสื่อสาร ผ่านการประชุมในระดับจังหวัด

                  ระดับโรงพยาบาล
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51