Page 434 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 434

L11

                            การพัฒนารูปแบบการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยในคลินิก NCDs
                                            โรงพยาบาลชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์


                                 นายเอกพันธ์ นครขวาง, นางสาวพิชญาภา อินทร์ประสิทธิ์ และนางสาวกมลทิพย์ ชัยสุวรรณ
                                                                โรงพยาบาลชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เขตสุขภาพที่ 3
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         สถานการณ์ผู้โรคเบาหวานและความดันของอำเภอชุมแสงพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ต้องกินยาของทั้ง 2
                  โรคนี้ในปีงบประมาณ 2566 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 4,010 ราย ผู้ป่วยโรคความดันมีจำนวน

                  10,256 ราย แนวโน้มย้อนหลัง 3 ปี พบว่าจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจากที่ผู้ป่วยโรคเรื่องรัง
                  นั้นต้องกินยาเยอะทำให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไตนั้นเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันในปีงบประมาณ 2566
                  มีผู้ป่วยโรคไตจำนวน 1,637 ราย เป็นโรคไตระยะที่ 1 จำนวน 134 ราย เป็นโรคไตระยะที่ 2 จำนวน 521 ราย
                  เป็นโรคไตระยะที่ 3 จำนวน 809 ราย  เป็นโรคไตระยะที่ 4 จำนวน 136 ราย  เป็นโรคไตระยะที่ 5 จำนวน 37 ราย

                  จากสถิติพบว่าผู้ป่วยมีจำนวนที่มากและใกล้เคียงกับปีก่อน ๆ โดยถ้าไม่มีการจัดการที่ดีอาจทำให้แนวโน้ม
                  ของผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 2 และ 3 จะกลายเป็นผู้ป่วยระยะที่ 4 นั้นจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคไตระยะ
                  2-3 มีจำนวนที่มาก ซึ่งสาเหตุที่พบคือการใช้ชีวิตของผู้ป่วยและการกินยาที่มากขึ้นทั้งยาโรคประจำตัว

                  และยาแก้ปวด ดังนั้นงานแพทย์แผนไทยจึงได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการรักษาแบบบูรณาการในคลินิกโรคเรื้อรัง
                  โดยเน้นการให้ความรู้การยืดเหยียดกล้ามเนื้อในคลินิก NCDs และการใช้นวัตกรรมของยาลดปวดที่ใช้ภายนอก
                  เพื่อเป็นทางเลือกในการจ่ายยาของแพทย์ ลดการกินยาแก้ปวดของผู้ป่วย อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชน
                  เนื่องจากการผลิตยาพอกลดปวด และน้ำมันลดปวดกล้ามเนื้อปาล์มไมร่า นั้นได้ซื้อวัตถุดิบที่มาทำการผลิต
                  จากท้องถิ่นในอำเภอชุมแสง


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยในคลินิก NCDs

                  วิธีการศึกษา
                         เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการโดยเก็บข้อมูลผลการใช้นวัตกรรม ยาพอกลดปวด น้ำมันนวดลดปวด
                  ปาล์มไมร่า การสอนสุขศึกษาเพื่อนำมาพัฒนารูปแบบระบบการบริหารจัดการในกิจกรรมให้บริการ

                  ด้านการแพทย์แผนไทยในคลินิก NCDs ของโรงพยาบาลชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีลำดับการศึกษาดังนี้
                         ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลปัญหา สถานการณ์ โรคแทรกซ้อนและปัญหาของคลินิก NCDs วางแผน
                  การดำเนินการที่แพทย์แผนไทยสามารถเข้าไปมีบทบาทช่วยเหลือและรักษาผู้ป่วยได้
                         ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลและศึกษาผลการใช้นวัตกรรมยาพอกลดปวด และยาทาลดปวดปาล์มไมร่า
                  ในกลุ่มผู้ป่วย NCDs ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อเข่า

                         ระยะที่ 3 นำเสนอรูปแบบการจัดบริการแพทย์แผนไทยกับองค์กรแพทย์และพยาบาลให้ทราบถึง
                  ผลการศึกษา เกณฑ์การจ่ายยาทั้ง 2 ชนิด ในคลินิกเบาหวานและความดัน กับคลินิกโรคไตและเก็บข้อมูล
                         ระยะที่ 4  นำข้อมูลมาเสนอผู้บริหารเพื่อกำหนดเป็นรูปแบบการรักษาในคลินิก NCDs เป็นรูปแบบ

                  การใช้ยาภายนอกและการส่งต่อผู้ป่วยในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และลดปวดข้อเข่าจากโรคเข่าเสื่อม
                  ผลการศึกษา

                         จากการวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยในคลินิก NCDs ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ และปวดเข่าจากโรคเข่าเสื่อม
                  ทางงานแพทย์แผนไทยจึงได้เก็บข้อมูลของนวัตกรรมและยาใช้ภายนอกได้ผลดังนี้
   429   430   431   432   433   434   435   436   437   438   439