Page 433 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 433

L10

                         3.  สรุปข้อมูลและปัญหาของคนในชุมชน
                         4.  ปรึกษาการดำเนินนวัตกรรมกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังแดง และ

                  เจ้าหน้าที่ภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังแดง
                         5.  เตรียมข้อมูลและอุปกรณ์สำหรับการจัดนวัตกรรม
                             6.  ประชาสัมพันธ์ ประสานงานกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
                             7.  ให้ความรู้เรื่องการทำน้ำมันตะไคร้และน้ำมันไพล

                         8.  จัดทำนวัตกรรมและทดลองใช้จริง เป็นระยะเวลา 3 เดือน พร้อมติดตามผลการทดลองใช้

                  ผลการศึกษา
                         ผลของการใช้นวัตกรรมกับผู้เข้าร่วมการทดลองใช้ในเขตตำบลวังแดง จำนวน 30 รายในช่วงระยะเวลา
                  ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม – 31 มีนาคม 2567 ( 3 เดือน )
                         1. ผู้เข้าร่วมการทดลองใช้หลังจากใช้นวัตกรรม “Balmstick ไล่ยุง ไกลเมื่อย” สามารถไล่ยุงและ

                  สามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อย ได้ดีขึ้นร้อยละ 100
                         2. อัตราความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการทดลองใช้ในการใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับ มาก ร้อยละ 100
                  อภิปรายผล

                         จากการสำรวจความต้องการของคนในชุมชนตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 30
                  คน โดยประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร วัยทำงาน ซึ่งมีปัญหาเรื่องการกำจัดไล่ยุง และทางด้านสุขภาพ
                  เกี่ยวกับอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกและทำให้
                  เกิดความไม่สุขสบายทางกาย โดยจากการที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ทำการสำรวจชุมชน พบว่ารอบๆที่อยู่อาศัย
                  ของคนในชุมชน อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลาย โดยเฉพาะพืชสมุนไพร ได้แก่

                  ตะไคร้หอม ไพล ขมิ้นชัน มะกรูด มะขาม ว่านหางจระเข้ เป็นต้น ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จึงเล็งเห็นความสำคัญ
                  ของการนำสมุนไพรและวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่าย มาประยุกต์ใช้ ให้สามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยการ
                  กำจัดไล่ยุง และบรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร นั่นก็คือ “Balmstick ไล่ยุง ไกลเมื่อย”

                  ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ได้แก่ ตะไคร้หอม ไพล และขมิ้นชัน มีสรรพคุณช่วยในการไล่ยุง การลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
                  ลดอาการอักเสบ ทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น และเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
                         เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เล็งเห็นปัญหาทางด้านสุขภาพของคนในชุมชนและความสำคัญของการดูแล
                  ตนเอง จึงได้จัดทำนวัตกรรม “Balmstick ไล่ยุง ไกลเมื่อย” เพื่อเป็นการแนะนำการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และ
                  ยังเป็นการนำสมุนไพรที่หาได้ง่ายในชุมชน มาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

                  และเป็นการต่อยอดเมืองต้นแบบสมุนไพร อำเภอตรอน อีกด้วย

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไล่ยุง บรรเทาอาการปวดเมื่อยและสามารถนำมาใช้ประโยชน์
                  ในชีวิตประจำวันได้
                         2. เกิดนวัตกรรมใหม่จากสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ป้องกันยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของไข้เลือดออก และ

                  สมุนไพรด้านสุขภาพเกี่ยวกับอาการปวดเมื่อย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นการพึ่งตนเองแบบยั่งยืน
                         3. เกิดผลิตภัณฑ์ใช้ทากันยุงและบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากสมุนไพรที่เป็นทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ที่แพ้
                  โลชั่นหรือสเปรย์ทากันยุงแผนปัจจุบัน

                         4. ประชาชนเกิดความตระหนักในการเฝ้าระวังป้องกันลูกน้ำยุงลาย และร่วมแรงร่วมใจดำเนินกิจกรรม
                  ต่างๆ เพื่อต้านภัยไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
   428   429   430   431   432   433   434   435   436   437   438