Page 432 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 432
L9
“Balmstick ไล่ยุง ไกลเมื่อย”
นายสรายุทธ แก่งอินทร์
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังแดง จังหวัดอุตรดิตถ์ เขตสุขภาพที่ 2
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นจากสถิติ 3 ปีย้อนหลัง สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังแดง ปี 2564 ผู้ป่วย 3 ราย, ปี 2565 ผู้ป่วย 5 ราย, ปี 2566 ผู้ป่วย 22 ราย
และพบค่า HI, CI เฉลี่ยเกินเกณฑ์ ร้อยละ 13.33 และ 18.18 ตามลำดับ และถือเป็นปัญหาสาธารณสุข
ที่ต้องเร่งแก้ไขและควบคุมโดยเร็ว ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกจะติดต่อจากคนไข้ที่มีเชื้อไข้เลือดออกโดยมียุงลาย
เป็นพาหะ เมื่อยุงลายไปกัดคนที่มีเชื้อก็จะนำเชื้อไข้เลือดออกไปติดคนอื่นได้โดยไปกัดคนอื่นต่อ และมียุงลาย
เป็นพาหะนำโรคในช่วงฤดูฝนยุงลายมีแหล่งเพาะพันธุ์ที่มากขึ้นจากน้ำที่ขังตามที่ต่างๆ จึงสังเกตได้ว่าช่วงนี้
ของทุกปีเป็นช่วงที่มีอัตราการระบาดของโรคสูง นอกจากยุงลายที่เป็นพาหะของไข้เลือดออกแล้ว ยุงชนิดอื่นๆ
ยังเป็นพาหะนำโรคอีกหลายชนิดมาสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ เช่น ไข้สมองอักเสบ ไข้จับสั่น มาเลเรีย โรคเท้าช้าง
เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการป้องกันยุงกัด ซึ่งมีหลากหลายวิธี ตั้งแต่วิธีทางกายภาพ
วิธีชีวภาพ และการใช้สารเคมี วิธีที่ประชาชนทั่วไปนิยมใช้ที่สุดคือการใช้สารเคมีในการกำจัดยุง เนื่องจากหาซื้อ
ได้ง่าย ให้ผลรวดเร็วทันใจ แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้ หากผู้ใช้ไม่เข้าใจวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็อาจเป็นอันตราย
แก่ผู้ใช้เอง และในการกำจัดยุงในบริเวณกว้างจะต้องใช้สารเคมีปริมาณมาก สารเคมีเหล่านี้จะตกค้าง
ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพิษทั้งต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้ ทั้งยังทำให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม
ตามมา นอกจากนี้การใช้สารเคมีในระยะยาวยังทำให้ยุงดื้อต่อสารเคมีอีกด้วย และผลกระทบอีกอย่างหนึ่ง
ของการใช้สารเคมีเกินความจำเป็นคือสามารถก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็กเล็ก
ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมี ผิวหนังอักเสบ รวมทั้งทำให้เกิดอาการหายใจขัดข้อง หรือถ้าอาการ
รุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยพบว่า มีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้
ประโยชน์ในการกำจัดยุงได้ ที่รู้จักและนิยมใช้กันคือ น้ำมันตะไคร้หอม ที่นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กันยุง ซึ่งการนำ
น้ำมันตะไคร้หอมมาผลิตเป็นสมุนไพรไล่ยุงนอกจากจะช่วยลดการใช้สารเคมีแล้วนั้นยังผสมผสานกับผลิตภัณฑ์
ที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยนำสมุนไพรมาผสมผสานเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งเดียว นั่นก็คือ น้ำมันไพล การใช้
สมุนไพรยังมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมีอีกด้วย ด้วยเหตุผลนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบลวังแดง จึงได้จัดทำนวัตกรรม “Balmstick ไล่ยุง ไกลเมื่อย” เพื่อให้ชุมชนได้ใช้นวัตกรรม
ไล่ยุงป้องกันโรคไข้เลือดออกและช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและอาการปวดเมื่อยของคนในชุมชน ให้คนในชุมชนสามารถ
ทำน้ำมันตะไคร้ น้ำมันไพลได้ด้วยตนเอง และสามารถนำใช้ในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและแก้อาการ
ปวดเมื่อยของตนเองได้
2. เพื่อให้คนในชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
3. เพื่อให้คนในชุมชนนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการสร้างรายได้
วิธีการศึกษา
1. ลงสำรวจปัญหาชุมชน
2. การประชุมเพื่อหาแนวทาง วางแผนและการติดตามการดำเนินการ