Page 436 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 436
L13
น้ำมันยาสุมอโรม่า ต้าน Long Covid-19
นางสาวศิริลักษณ์ แซ่ง้อ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาล้อ จังหวัดนครสวรรค์ เขตสุขภาพที่ 3
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 มีการแพร่เชื้อในลักษณะเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ติดเชื้อ
จากสารคัดหลั่ง ระยะเวลาระหว่างการสัมผัสเชื้อเริ่มมีอาการ โดยทั่วไป 5 วัน ในช่วง 2 ถึง 14 วัน อาการที่พบ
บ่อย ได้แก่ มีไข้ ไอ และหายใจลำบาก ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมไปถึงปอดบวม พบว่าในเด็กจะมีอาการน้อยกว่า
ผู้ใหญ่ ช่วงอายุ 50-59 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูง และช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 14.8% โดยเฉพาะ
คนมีโรคประจำตัว และผลจากการคัดกรองผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 เขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลบ้านเขาล้อ จำนวน 50 ราย และได้ประเมินระดับความรุนแรง ผู้ป่วยบางรายมีอาการช่วง Long Covid
มีอาการไอเรื้อรัง ปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า เครียด ผู้ป่วยส่วนใหญ่เลือก
การรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะบรรเทาอาการ แต่ทางการแพทย์แผนไทยก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบรรเทา
อาการ การสุมยาเป็นหัตถการที่ออกฤทธิ์โดยตรงกับระบบทางเดินหายใจ โดยการใช้ความร้อนชื้นจากไอน้ำ
เป็นตัวพาน้ำมันหอมระเหยออกจากสมุนไพร จากรายงานวิจัยพบว่าน้ำมันหอมระเหยสามารถดูดซึมผ่านทางปอด
ผ่านโครงสร้างที่กั้นระหว่างเลือดและสมอง เข้าจับกับตัวรับ (receptor)ในระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิด
การขยายตัวของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียน ขยายหลอดลม ลดอาการคัดจมูก ไอ จาม มึนศีรษะ ภูมิแพ้ บางตัว
มีฤทธิ์การยับยั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทั้งกลิ่นน้ำมันหอมระเหยยังช่วยผ่อนคลาย ลดอาการเครียด นอนไม่หลับ
แต่การสุมก็ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดหาสมุนไพร การจัดเตรียมสมุนไพรที่หลายขั้นตอน บางครั้งผู้ป่วย
ที่มีอาการวิงเวียนศีรษะอาจเกิดอาการหน้ามืด จากการสุมคุมศีรษะได้ ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลบ้านเขาล้อ จึงได้คิดจัดทำน้ำมันยาสุมอโรม่า ต้าน Long Covid-19 โดยผลิตภัณฑ์มีความทันสมัย พกพา
สะดวก ลดขั้นตอนการจัดเตรียมที่ยุ่งยาก และง่ายต่อการเก็บรักษา สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานพอสมควร เหมาะสม
กับการใช้ในสังคมปัจจุบัน ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อบำบัดและบรรเทาอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วง Long Covid
วิธีการศึกษา
1. คัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการช่วง Long Covid ตั้งแต่ 7 วัน - 1 เดือน ช่วงเดือน เมษายน –
พฤษภาคม 2565 จำนวน 30 ราย
2. ประเมินก่อน-หลังอาการ Long Covid โดยแบบประเมินคุณภาพชีวิต (แบบวัดเฉพาะโรคจมูก)
Rhinoconjunctivitis Quality of Life Questionnaire: RCQ-36 จำนวน 30 ราย ซึ่งมีเกณฑ์คะแนน 5 ระดับ
3. ให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทดลองใช้น้ำมันยาสุม โดยใช้ทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ช่วงเช้า เป็นระยะเวลา 5 วัน
4. ให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประเมินแบบความพึงพอใจต่อการรักษาอาการ Long COVID ในครั้งที่ 5