Page 435 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 435
L12
1. ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ที่ได้รับน้ำมันนวดปาล์มไมร่าออยล์มีรูปแบบการประเมินผลการ
ใช้ยาเปรียบเทียบระดับความปวดก่อนและหลังการใช้ 1 ชั่วโมง โดยใช้แถบวัดระดับความปวด Pain score
ระดับ 1 – 10 และวัดความพึงพอใจมีผู้รับการทดสอบจำนวน 59 รายพบว่า ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ มีระดับ
ความเจ็บปวดก่อนใช้ยาปาล์มไมราออยล์ค่าเฉลี่ย 5.36 และมีระดับความเจ็บปวดหลังใช้ยาปาล์มไมราออยล์
ลดลงมีค่าเฉลี่ย 2.37 ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หลังใช้ยาปาล์มไมราออยล์
มีอาการปวดลดลงมีความพึงพอใจหลังการใช้ยาปาล์มไมราออยล์ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.1
รองลงมาความพึงพอใจระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 40.7 รองลงมาความพึงพอใจระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ
13.6 และน้อยที่สุด คือ ความพึงพอใจระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.7
2. ในผู้ป่วยมีอาการปวดเข่าจากโรคเข่าเสื่อม จำนวน 30 ราย ที่ได้รับการพอกยาสมุนไพรที่หัวเข่าเป็นเวลา
30-45 นาที เปรียบเทียบระดับความปวดก่อนและหลังโดยใช้แถบวัดระดับความปวด Pain score ระดับ 1 – 10
พบว่าพบว่าผู้ป่วยที่มารับการรักษาและพอกยาพอกลดปวดนั้นมีแนวโน้มของอาการปวดลดลง โดยก่อนการรับบริการ
อาการปวดเฉลี่ย(NRS) อยู่ที่เท่ากับ 3.53 และหลังการรักษาอาการปวด(NRS)เฉลี่ยอยู่ที่ 1.43
3. จากการเก็บข้อมูลการใช้ยาจ่ายยาในคลินิกโรคไตพบว่า 1).เดือนตุลาคมมีการจ่ายยา 546 item
มูลค่ายา 12,610 บาท 2).เดือนพฤศจิกายนมีการจ่ายยา 600 item มูลค่ายา 13,687 บาท 3).เดือนธันวาคม
มีการจ่ายยา 426 item มูลค่ายา 10,400 บาท 4).เดือนมกราคมมีการจ่ายยา 641 item มูลค่ายา 14,890 บาท
แต่หลังจากการนำรูปแบบการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยในคลินิก NCDs พบว่าอัตราการจ่ายยาเริ่มลดลง
ทั้งเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม และพบว่ามูลค่าการจ่ายยาลดลงประมาณ 29% 5).เดือนกุมภาพันธ์
มีการจ่ายยา 481 item และมูลค่ายา 11,947 บาท 6).เดือนมีนาคมมีการจ่ายยา 392 item และมูลค่ายา
10,465 บาท
อภิปรายผล
จากสถานการณ์การจ่ายยาลดอาการปวดในผู้ป่วยโรคไตระยะ 2-5 นั้นพบว่ามีอัตราการจ่ายที่ค่อนข้างสูง
ในแต่ละเดือน แต่หลังจากที่มีการดำเนินการจัดระบบการให้บริการการแพทย์แผนไทยโดยการจ่ายยาปาล์มไมร่า
ลดปวดกล้ามเนื้อและยาพอกลดปวดข้อเข่าและข้อต่างๆในคลินิกโรคไตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์พบว่าอัตราการจ่ายยา
กินแก้ปวดค่อยๆ ลดลง จากเดือนมกราคมที่มีการจ่าย 641 item ลดลงเหลือ 481 item ในเดือนกุมภาพันธ์
และลดลงไปอีกเหลือจำนวน 392 item ในเดือนมีนาคม สามารถลดมูลค่าการจ่ายยาแก้ปวดได้ประมาณ 29%
และมีผลตอบรับและความพึงพอใจจากผู้ป่วยระดับมากที่สุด 44.1% จากผู้ป่วย 59 รายและสุดท้ายในผู้ป่วย
ที่มีอาการปวดเข่าและข้อต่อต่างๆ ในคลินิก NCDs และ OPD ทั่วไป นั้นได้มีการส่งต่อมานวดรักษาและพอกยา
พร้อมกับจ่ายยาพอกลดปวดให้ผู้ป่วยได้ใช้ที่บ้าน และกระจายยาผ่านเครือข่ายคนไข้มีความเข้าใจที่มากขึ้นว่า
มีทางเลือกที่ใช้ลดอาการปวดมากกว่าการกินยาแก้ปวด
สรุปและข้อเสนอแนะ
การศึกษาครั้งนี้สามารถยืนยันประสิทธิผลยาสมุนไพรตำรับโรงพยาบาลได้ว่าสามารถลดลดอาการปวด
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการกินยาที่เยอะขึ้นของผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs
ได้ในระดับหนึ่ง และส่งเสริมและรับซื้อวัสดุจากประชาชนในพื้นที่คือทั้งกะลาลูกตาล สมุนไพรอื่นๆ ที่นำมาผลิต
ปาล์มไมร่าออยล์ และยาพอกลดปวด ได้ไกด์ไลน์การส่งต่อผู้ป่วย NCDs มายังแพทย์แผนไทย
ข้อเสนอแนะ
1. ทำการแจ้งพยาบาลและแพทย์อย่างต่อเนื่องถึงการส่งต่อและยาที่ใช้ลดอาการปวดในคลินิก NCDs
เนื่องจากโรงพยาบาลชุมชนมีการย้ายเข้า-ออกของแพทย์เป็นประจำ
2. ทำการเขียนโครงการสนับสนุนและกระจายยาลง รพสต. และทำโครงการแพทย์แผนไทยสัญจร
อย่างต่ออย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการใช้ยาอีกทางหนึ่ง