Page 430 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 430

L7

                          การพัฒนาตำรับน้ำมันนวดกระดูกไก่ดำใช้ในการบริการการแพทย์แผนไทย


                                      เภสัชกรธนพงศ์ เพ็งผล, นางสาวจันทิมา สุวรรณ และเภสัชกรหญิงผกากรอง ขวัญข้าว
                                                     โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เขตสุขภาพที่ 6
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย/พัฒนาตำรับ
                         สถาบันการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ให้มีการให้บริการการนวดน้ำมัน
                  ในกลุ่มผู้ป่วยอาการปวดข้อ กล้ามเนื้อ ฯลฯ โดยใช้น้ำมันไพลที่มีส่วนผสมของ ไพล การบูร เมนทอล ได้พบ
                  ปัญหาว่าผู้ป่วยที่ได้รับการนวดมีสีเหลืองติดตามผิวหนัง เลอะเสื้อผ้า ซักออกยาก แลมีผู้ป่วยบางท่านมีอาการ

                  หนาวจาก cooling effect ของยา เป็นลักษณะไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันผู้นวดที่จะต้องนวด
                  ติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมงมีอาการแสบจมูกจากกลิ่นไพล การบูรและเมนทอลอีกด้วย เพื่อลดอาการ
                  ไม่พึ่งประสงค์เหล่านั้น จำเป็นต้องพัฒนาตำรับน้ำมันนวดขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนตำรับเดิม

                  วัตถุประสงค์การศึกษา/พัฒนาตำรับ

                         เพื่อพัฒนาตำรับยานวดจากสมุนไพร ทดแทนตำรับน้ำมันไพลที่ใช้อยู่ ในการบริการการแพทย์แผนไทย
                  วิธีการศึกษา/ทดลอง/พัฒนา

                         จากความต้องการของแพทย์แผนไทยที่ต้องการให้มีน้ำมันนวดจากสมุนไพรที่ไม่มีสีติดตามผิวหนังหรือ
                  เสื้อผ้า ไม่มีกลิ่นฉุนมากนัก ลดอาการเย็นเพราะมีการนวดในห้องปรับอากาศที่อากาศเย็นตลอดเวลา ทำให้ทาง
                  ผู้วิจัยได้เลือกสมุนไพรกระดูกไก่ดำ ดูกไก่ดำ (Justicia gendarussa Burm. f.) ที่มีใช้ตามภูมิปัญญาเดิม

                  อยู่แล้ว และได้มีงานวิจัยพบว่าสารสกัดกระดูกไก่ดำมีฤทธิ์ลดปวดเทียบเท่ากับ diclofenac ในรูปแบบพ่น
                  มาพัฒนาให้รูปแบบน้ำมัน ด้วยการนำสมุนไพรกระดูกไก่ดำแห้ง ส่วนเหนือดิน มาบดลดขนาดและหมักสกัด
                  ด้วย Ethanol ในอัตราส่วน 1:9 เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นกรองแล้วนำมาละเหยให้ได้สารสกัดเข้มข้น
                  (จาก 1000ml ละเหยจนเหลือ 50 ml) เพราะว่า Ethanol ละลายในน้ำมันได้น้อย ส่วนน้ำมันจากเดิมใช้
                  เป็นน้ำมัน mineral oil เป็นส่วนประกอบหลักเพียงตัวเดียว พบว่าการนวดไม่ลื่นไหล ความรู้สึกสัมผัสขณะ

                  นวดไม่ดีเท่าที่ควร จึงได้พัฒนาส่วนน้ำมันโดยลดอัตราส่วน mineral oil ลงและเพิ่มน้ำมันคาโนล่า น้ำมัน
                  ทานตะวัน น้ำมัน MCT เข้าไป พบว่าผิวสัมผัสขณะนวดดีขึ้นมาก ตัวยาสำคัญในตำรับนอกจากสารสกัดกระ
                  ดูกไก่ดำแล้วยังได้เพิ่มน้ำมัน Cajeput และน้ำมันระกำเข้าไปด้วย เพื่อเป็นการแต่งกลิ่น ให้ความรู้สึกร้อน

                  เล็กน้อย เกิด counter-irritant ที่ผิว เพิ่มประสิทธิภาพในการลดปวดได้
                         หลังจากพัฒนาตำรับแล้วได้ส่งมอบให้สถาบันการแพทย์แผนไทยฯ ได้ทดลองใช้กับบุคลากรกันเองก่อน
                  เก็บขอมูลประเมินความพึงพอใจ ประเมินผลข้างเคียงที่พบ ก่อนที่จะทำการผลิตจำนวนมากและจัดเป็น
                  แผนผลิตประจำของโรงงาน

                  ผลการศึกษา

                         จากการเก็บข้อมูล (25 คน) ประเมินสี กลิ่น การดูดซึม/ผิวสัมผัส และความพึงพอใจโดยรวม พบว่า
                  ตำรับยามีสีที่ดี เหมาะสมล้างออกง่าย  กลิ่นดีเหมาะสมไม่แสบจมูก ผิวสัมผัส ลื่นดี ความพึงใจโดยรวม ส่วนใหญ่
                  (22 คน) ให้ความเห็นว่าดี และบางส่วน (3 คน) ให้ความเห็นว่าพอใช้ได้ มีผลข้างเดียงเกิดขึ้น 1 คน มีผื่นที่หน้าอก
                  หลังใช้น้ำมันนวด แต่หายเองโดยไม่ใช้ยาภายใน 2 วัน และทั้งหมดมีอาการปวดลดลงหลังใช้ตำรับกระดูกไก่ดำนี้
   425   426   427   428   429   430   431   432   433   434   435