Page 454 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 454
L31
สุขภาพแข็งแรงไม่มีความพิการหรือผิดปกติใดๆ ระยะเวลาดำเนินการ ในระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 30
กันยายน 2565 กลุ่มตัวอย่าง เป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน
ที่ได้รับการคัดกรองตามแบบประเมินอาการและอาการแสดงของการคัดตึงเต้านม ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย
วิธีการสุ่มตัวอย่าง
การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 30 คน มีเกณฑ์ที่
ใช้ในการคัดเลือกผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ (Inclusion criteria) และเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกผู้ป่วยออกจาก
โครงการ (exclusion criteria)อย่างชัดเจน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ
ผู้วิจัยใช้เกณฑ์การประเมินแบบวัดระดับอาการคัดตึงเต้านมประเมินระดับอาการคัดตึงเต้านม
โดยใช้เครื่องมือแบบวัด Six-Point Breast Engorgement Scale
2. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย
2.1 แบบประเมินการไหลของน้ำนมระดับการไหลของน้ำนมมีการประเมินวัดระดับการไหล
ของน้ำนมของชุติมาพรและคณะ(2553)
2.2 แบบวัดระดับความเจ็บปวดเลือกใช้เครื่องมือวัดความปวด (Pain scale) คือแบบวัดระดับ
ความเจ็บปวด Numerical rating scale (NRS)
2.3 แบบประเมิน LATCH Score เพื่อใช้ในการบันทึกการให้นมแทนการรายงานตามความคิดเห็น
ของตนเอง
2.4 แบบบันทึกงานวิจัย เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของหญิงคลังคลอด เพื่อจำแนก
ตามลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามลักษณะการตั้งครรภ์และการคลอดของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งผ่าน
การตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนในการดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูล
1. ขั้นเตรียมการ
ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองที่ตึกผู้ป่วยในสูตินรีเวชและผู้มารับบริการฟื้นฟู
หญิงหลังคลอดที่กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
2. ขั้นดำเนินการ
ผู้วิจัยดำเนินการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองดังนี้
คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย เป็นการทดลองกลุ่มเดียวผู้วิจัยประเมินกลุ่มทดลองโดยวิธี
สัมภาษณ์ตามแบบประเมินแบบวัดระดับอาการคัดตึงเต้านม ตั้งแต่คะแนน 3-6 คะแนนสำหรับกลุ่มตัวอย่าง
ที่ผ่านการประเมินแบบวัดระดับอาการคัดตึงเต้านม ผู้ศึกษาใช้แบบบันทึกประสิทธิผลการนวดเต้านม 3 ท่า
ร่วมกับการประคบสมุนไพร ต่อการลดอาการคัดตึงเต้านมในหญิงหลังคลอดเพื่อบันทึกอาการก่อนและ
หลังการนวดเต้านมดำเนินการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างตามแบบบันทึกให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกขั้นตอน
กลุ่มตัวอย่างได้รับการชี้แจงรายละเอียดของการวิจัย เข้าใจเมื่อยินยอมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการจะต้องเซ็น
ใบยินยอมเข้าร่วมโครงการศึกษากลุ่มตัวอย่างได้รับการชี้แจงรายละเอียดของการวิจัย เข้าใจเมื่อยินยอมและ
สมัครใจเข้าร่วมโครงการจะต้องเซ็นใบยินยอมเข้าร่วมโครงการศึกษากลุ่มตัวอย่างรับฟังการอธิบายวิธีการกรอก
ข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลเบื้องต้นประเมินอาการก่อนการนวดเต้านมและประเมินอาการหลังการนวดเต้านม
ทุกครั้งนำข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างมาตรวจสอบความถูกต้องและนำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่อไป