Page 452 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 452
L29
อภิปรายผล
การศึกษาประสิทธิผลการออกกำลังกายท่าฤๅษีดัดตนต่อสมรรถภาพปอดและคุณภาพชีวิตของผู้เลิกบุหรี่
จากการศึกษาค่าการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพปอดในระยะเวลา 12 สัปดาห์ ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มฤๅษีดัดตน
ค่าของ FEV1 (L) (forced expiratory volume in one second) ในกลุ่มควบคุมหลังการศึกษา สัปดาห์ที่ 4,
8, 12 ไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ในกลุ่มฤๅษีดัดตนค่าของ FEV , FVC, PEF และ FEF ซึ่งสอดคล้องกับ
1
การศึกษาผลของโยคะต่อการทดสอบการทำงานของปอดในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง [6], ค่าของ PEF (peak expiratory
flow) อัตราการไหลของความเร็วลมที่เป่าออกจากปอดอย่างรวดเร็ว พบว่าในสัปดาห์ที่ 12 กลุ่มฤๅษีดัดตนหลัง
การศึกษา (p<0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาประสิทธิผลของการบำบัดโยคะแบบ
เสริมในปอดในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน การฝึกปราณยามะเทคนิคการหายใจ และเทคนิคการผ่อนคลาย Hathenas
วิธีแบบโยคะ Gitananda yoga ส่งผลทำให้ ค่าของ PEF เพิ่มขึ้น (p<0.05) [7] ค่าของ FEF 25-75% (force
expiratory flow at 25%-75%) คือค่าเฉลี่ยของอัตราการไหลของอากาศที่คำนวณในระหว่างช่วงปริมาตรที่
25-75% ของ FVC แสดงให้เห็นว่าหลังการฝึกฤๅษีดัดตนอัตราการไหลของอากาศที่คำนวณ
ในระหว่างช่วงปริมาตรที่ 25-75% ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของค่า FEF เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ซึ่งสอดคล้องกับ [8] จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้เลิกบุหรี่ได้ออกกำลังกายท่าฤๅษีดัดตนร่วมกับ
การฝึกหายใจ หรือการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สภาพจิตใจของผู้เลิกบุหรี่ สมรรถภาพปอด
และคุณภาพชีวิตของผู้เลิกบุหรี่ดีขึ้น อาจเนื่องจากสภาพจิตใจที่มีการผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้ผู้เลิกบุหรี่
เกิดความพึงพอใจในกิจกรรมการออกกำลังกายฤๅษีดัดตน
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปผลวิจัย จากผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาประสิทธิผลการออกกำลังท่าฤๅษีดัดตน
ต่อสมรรถภาพปอดและคุณภาพชีวิตของผู้เลิกบุหรี่ในกลุ่มเพศชาย โดยสรุปพบว่าการออกกำลังกายด้วยฤๅษีดัดตน
5 ท่า ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางกายให้สมรรถภาพปอดดีขึ้นการศึกษานี้
จะเป็นแนวทางให้โรงพยาบาล หน่วยงานด้านสาธารณสุข อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านคลินิก
อดบุหรี่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนผู้เลิกบุหรี่ทุกวัยมีความพร้อมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น ลดภาระ
ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพประชากรผู้ที่เลิกบุหรี่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเกิดโปรแกรมด้านการแพทย์แผนไทย
ที่จะฟื้นฟูสุขภาพทางกายและทางจิตใจ ซึ่งเป็นหลักคิดที่สำคัญในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในแบบการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในกลุ่มผู้ที่เลิกบุหรี่