Page 453 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 453
L30
ประสิทธิผลการนวดเต้านม 3 ท่าร่วมกับการประคบสมุนไพร
ต่อการลดอาการคัดตึงเต้านมในหญิงหลังคลอดโรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
นางณภัทร หอมหวล
โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นจุดเริ่มต้นและพื้นฐานที่สำคัญในการดูแลทารกให้เจริญเติบโตแข็งแรง
สมบูรณ์และมีผลดีทั้งต่อสุขภาพของมารดาและทารก (ศิราภรณ์,2553) ทารกที่ได้รับนมแม่จะมีภูมิต้านทาน
ต่อการติดเชื้อ ลดโอกาสการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร ลดโอกาส
การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งพัฒนาสมองส่วนการรู้คิด เพิ่มความฉลาดทางสติปัญญาและทางอารมณ์
ของทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงนับเป็นการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรที่คุ้มค่าอย่างมาก
(ศศิธารา น่วมภาและคณะ,2563) ศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีองค์ความรู้จาก
ภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดมาช้านาน การนวดถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูก
ด้วยนมแม่เช่นกัน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาค้นคว้าวิธีเพื่อแก้ไขปัญหาได้ประยุกต์ใช้ท่านวดเต้านม 3 ท่า จากการตรวจ
คัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ศึกษาเพิ่มในแบบแผนการตรวจคลำเต้านม (Pattern of Examination)
ที่นิยมมี 3 แบบ คือ แบบที่ 1 การคลำในแนวก้นหอ (Clock Pattern) แบบที่ 2 การคลำแนวตั้งขนานกับลำตัว
(Vertical strip Pattern) และแบบที่ 3 การคลำเป็นรูปลิ่ม (Wedge Pattern) ก่อนการนวดเต้านมทั้ง 3 ท่า
จะประคบเต้านมด้วยลูกประคบสมุนไพรข้างละ 5 นาที แล้วจึงนวดเต้านมโดยใช้น้ำมันมะพร้าวในการนวดร่วมด้วย
นวดด้วยความนุ่มนวล ไม่กดเค้นเต้านมมากจนเกินไป ในแต่ละท่าใช้เวลาท่าละ 5 นาที หากนวดครบทั้ง 3 ท่า
ใช้เวลานวดเต้านมข้างละ 15 นาที รวมระยะเวลาการนวดและประคบสมุนไพรทั้งหมดเป็น ๔๐ นาที การใช้
น้ำมันมะพร้าวจะช่วยลดแรงกดจากมือสู่เต้านมโดยตรง สร้างความรู้สึกผ่อนคลายขณะนวด ลดอาการเต้านม
คัดและอาการเจ็บปวดเต้านมได้ การนวดเต้านม 3 ท่าร่วมกับการประคบสมุนไพร จากการศึกษาท่าในการนวด
เต้านมจากคู่มือนำมาประยุกต์ใช้ในการนวดเต้านม เพื่อลดอาการคัดตึงของเต้านมในมารดาหลังคลอด
นวดด้วยความนุ่มนวล สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่มีท่าที่ซับซ้อน จำได้ง่ายและสามารถใช้ความรู้และ
ทักษะที่ได้รับมาใช้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเหมาะสมในระยะหลังคลอด โดยเชื่อว่าการศึกษานี้ช่วยแก้ปัญหา
เต้านมคัดตึง ลดความเจ็บปวดและช่วยให้มารดาหลังคลอดมีน้ำนมไหลมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะช่วยให้มารดา
ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้มากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาประสิทธิผลการนวดเต้านม 3 ท่าร่วมกับการประคบสมุนไพร ต่อการลดอาการคัดตึงเต้านม
ในหญิงหลังคลอด
วิธีการศึกษา
รูปแบบการวิจัย
การวิจัยเรื่องประสิทธิผลการนวดเต้านม 3 ท่าร่วมกับการประคบสมุนไพร ต่อการลดอาการคัดตึงเต้านมใน
หญิงหลังคลอด โรงพยาบาลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental)
ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเดียวแบบวัดผลก่อนและหลังการทดลองประชากรของการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง หญิงหลังคลอด
ตั้งแต่ 1 วัน - 6 สัปดาห์ ที่ตึกผู้ป่วยในสูตินรีเวชและผู้มารับบริการฟื้นฟูหญิงหลังคลอดที่กลุ่มงานการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลหนองบัวแดง และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว รวมทั้งบุตร