Page 455 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 455

L32

                  ผลการศึกษา
                         จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าคุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างพบว่ากลุ่มอายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ

                  ระหว่าง 20–25 ปี ร้อยละ 43.3 การประเมินการให้นมลูกด้วยคะแนนการเข้าเต้า (LATCH score) ข้อมูลการ
                  ประเมินทั้งหมดจะเห็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนการเข้าเต้า (LATCH score) 10 คะแนน จำนวน 16 ราย
                  คิดเป็นร้อยละ 53.3 ซึ่งสอดคล้องกับบทความของภาวิน พัวพรพงษ์ (2562) สำหรับประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้
                  มีการศึกษาถึงคะแนนการเข้าเต้ามีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 6 สัปดาห์และใช้ติดตาม

                  ช่วยเหลือมารดาที่หยุดนมแม่ในระยะแรกจากการเจ็บเต้านมและมีการประเมินความสัมพันธ์ในการให้คะแนน
                  การเข้าเต้าของบุคลากรทางการแพทย์กับมารดาพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.18 ในการประเมิน
                  การได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนมถึง 0.67 ในการประเมินการเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนมหลังการวิจัย
                  การนวดเต้านม 3 ท่าร่วมกับการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอดอาการคัดตึงเต้านมมีค่าเฉลี่ยลดลงอย่าง

                  มีนัยสำคัญทางสถิติ และมีระดับความเจ็บปวดหลังการนวดเต้านมมีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                  คะแนนการไหลของน้ำนมหลังการนวดเต้านมมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับ
                  งานวิจัยของประมินทร์ อนุกูลประเสริฐ (2550) ศึกษาการเปรียบเทียบผลของการนวดเต้านมเพียงอย่างเดียวกับ
                  การนวดเต้านมร่วมกับประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นในการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร

                  พบว่ากลุ่มที่ 1 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดบุตรมีน้ำนมหลั่งใน6 ชม. หลังคลอดคิดเป็น61.9% และมีปริมาณ
                  น้ำนมเพียงพอภายใน 48 ชม. หลังคลอดคิดเป็น 75% กลุ่มที่ 2 จำนวนหญิงตั้งครรภที่คลอดบุตรมีน้ำนมหลั่ง
                  ใน 6 ชม. หลังคลอดคิดเป็น97.1%และมีปริมาณน้ำนมเพียงพอภายใน 48 ชม.หลังคลอดคิดเป็น98.8% พบว่า

                  ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) จากผลการวิจัยทำให้ทราบว่าการนวดเต้านม
                  3 ท่าร่วมกับการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอดทำให้อาการคัดตึงเต้านมลดลง  ช่วยเพิ่มปริมาณการไหล
                  ของน้ำนม และช่วยลดระดับความรุนแรงของอาการปวดตึงเต้านมได้ ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดภาวะแทรกซ้อน
                  ของผู้ป่วยได้จริงซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้ จึงเห็นสมควรที่จะได้รับการสนับสนุนการนวดเต้านม
                  ร่วมกับการประคบสมุนไพรในหญิงหลังคลอดได้เป็นอย่างดี


                  อภิปรายผล
                         ระดับอาการคัดตึงเต้านม โดยใช้เครื่องมือแบบวัด Six-Point Breast Engorgement Scale กลุ่ม
                  ตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับอาการคัดตึงเต้านมลดลงที่ระดับ 4.3 และ 2.6  ตามลำดับคะแนนการไหลของน้ำนม
                  โดยใช้เครื่องมือแบบประเมินการไหลของน้ำนม กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับการไหลของน้ำนมเพิ่มขึ้นที่ระดับ
                  2.4 และ4.2  ตามลำดับระดับความเจ็บปวด เป็นแบบวัดระดับความเจ็บปวด Numerical rating scale (NRS)

                  เป็นการใช้ตัวเลขมาช่วยบอกระดับความรุนแรงของอาการปวด กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดลดลง
                  ระดับ 4 และ 2.27 ตามลำดับการประเมินการให้นมลูกด้วยคะแนนการเข้าเต้า (LATCH score) โดยกลุ่มตัวอย่าง
                  ทั้งหมดมีคะแนนอยู่ที่ 8 - 10 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก

                  การแปลผลหากคะแนนการประเมินในทารกอายุ 16-24 ชั่วโมงมากกว่า 8 คะแนน แสดงว่ามีความสำเร็จ
                  ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใน 6 สัปดาห์หลังคลอดสูง

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การศึกษาครั้งนี้ยังไม่เป็นรูปแบบการทดลองโดยสมบูรณ์ เพราะยังขาดกลุ่มเปรียบเทียบ และการคัดเลือก
                  กลุ่มตัวอย่างยังไม่สมบูรณ์ แต่ก็พอเป็นแนวทางเพื่อการศึกษาและพัฒนาต่อไปในอนาคตควรศึกษาในหญิงหลังคลอด

                  ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอาการคัดตึงเต้านม เช่น กลุ่มมารดาที่คลอดบุตรก่อนกำหนด และสามารถนำข้อมูล
                  การวิจัยครั้งนี้ ไปพัฒนางานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลลัพธ์สู่ความสำเร็จในการดูแลหญิงหลังคลอด
   450   451   452   453   454   455   456   457   458   459   460