Page 459 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 459

L36


                     แผ่นแปะสมุนไพรบรรเทาอาการปวดเมื่อยเพื่อจัดบริการให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง
                                        ในคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลศูนย์ยะลา


                                                                   นางสาววีรวรรณา บุญญานุวัตร และนางสาวนาซีเราะ มะนา
                                                                        โรงพยาบาลยะลา จังหวัดยะลา เขตสุขภาพที่ 12
                                                                                                 ประเภท วิชาการ


                  ที่มาและความสำคัญของปัญหา
                            อาการปวดหลังเป็นปัญหาที่พบบ่อยในทางเวชปฏิบัติ ซึ่งทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำงานหรือประกอบ
                  กิจวัตรประจำวัน การดูแลผู้ป่วยหลังด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย สามารถช่วยทุเลาปวดและเพิ่มการเคลื่อนไหว
                  ของหลังและข้อไหล่ดังกล่าวได้มาก ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงนำแผ่นแปะสมุนไพรบรรเทาอาการปวดเมื่อย

                  ในผู้ป่วยปวดหลัง ซึ่งเป็นวิธีการดูแลที่มีความปลอดภัยสูง เป็นการอนุรักษ์และพัฒนาแพทย์แผนไทยให้ดำรงอยู่
                  จากสถิติข้อมูลผู้ป่วยนอกได้รับบริการแพทย์แผนไทย ปี 2563 จาก H0S XP ในโรงพยาบาลศูนย์ยะลา จำนวน
                  1,568 คน ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน เนื่องจากอาชีพหลักของคนในพื้นที่ คือ เกษตรกรรม สาเหตุอาจเกิดจาก

                  ลักษณะอาชีพ ท่าทำงานที่ไม่ถูกต้อง ทำงานหนักเกินกำลัง และอยู่ในอิริยาบถเดียวนาน ๆ ส่งผลให้มีอาการ
                  ปวดกล้ามเนื้อและวิธีบรรเทาปวด เช่น ทานยา นวด ฝังเข็ม แต่ผู้ป่วยบางคนไม่ชอบยา ไม่สะดวกนวดหรือ
                  ประคบสมุนไพรเนื่องจากใช้เวลานาน จึงคันคว้า แผ่นแปะบรรเทาปวด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำ
                  แก่ผู้รับบริการนำไปใช้ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพ การทำงานและการดำเนินชีวิตต่อไป

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลแผ่นแปะสมุนไพรบรรเทาอาการปวดเมื่อยเพื่อจัดบริการให้กับผู้ป่วยที่มีอาการ
                  ปวดหลังในคลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลศูนย์ยะลา
                         2. เพื่อศึกษาความรู้สึกปวดและอาการปวดหลัง งานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาล
                  ศูนย์ยะลาในกลุ่มทดลองหลังใช้แผ่นแปะสมุนไพรลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมหลังการติดตามอาการโดยไม่ใช้
                  แผ่นแปะสมุนไพร


                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีการวัดผลก่อน
                     และหลังการทดลอง
                           ประชากรที่ศึกษา : ผู้มารับบริการคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลศูนย์ยะลา
                           การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการศึกษา

                         1.  ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
                         2.  การประเมินตามแบบวัดความรู้สึกปวด (VAS) และแบบประเมินอาการปวดหลัง (Modified
                  Oswestry Low Back Pain Disability Questionnaire) ก่อนและหลังการใช้แผ่นแปะสมุนไพร โดยใช้สถิติ

                  Paired sample t-test
                         3.  เปรียบเทียบการประเมินการประเมินตามแบบวัดความรู้สึกปวด (VAS) และแบบประเมินอาการ
                  ปวดหลัง (Modified Oswestry Low Back Pain Disability Questionnaire) หลังการใช้แผ่นแปะสมุนไพร
                  และหลังการติดตามอาการ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Independent t- test
   454   455   456   457   458   459   460   461   462   463   464