Page 484 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 484

M22


                  เฉพาะทาง 4 เดือน (TC Nurse)

                         7.  ปรับการดำเนินงานแบบเชิงรุก โดยมีการประชาสัมพันธ์และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
                  งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน, หอผู้ป่วยที่เป็น Target ward, Palliative care, ประชุมร่วมกับ PCT เพื่อชี้แจ้งข้อมูล
                  และแนวทาง มีการจัดทำระบบแจ้งรายงานข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์อาจบริจาคอวัยวะได้ และมีช่องทางติดต่อ

                  หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                            8.  ติดตามการใช้แนวปฏิบัติ ปัญหาและอุปสรรคเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
                            9.  ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการดำเนินงาน

                  4. ผลการศึกษา

                         1. มีแนวทางการขอรับบริจาคอวัยวะ 1 ฉบับ (ดังเอกสารแนบ)
                         2. บุคลากรที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแนวทางการขอรับบริจาคอวัยวะถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90

                                    ตัวชี้วัด                   เป้าหมาย      ก่อนดำเนินการ  หลังดำเนินการ
                   1.แนวทางการขอรับบริจาคอวัยวะ             มีแนวทาง 1 ฉบับ       N/A          แนวทางดัง

                                                                                             เอกสารแนบท้าย
                   2.บุคลากรที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามแนวทาง        > 90%            N/A            93.07
                   การขอรับบริจาคอวัยวะถูกต้อง

                   3.อัตราส่วนของจำนวนผู้ยินยอมบริจาคอวัยวะ   เพิ่มขึ้น 20%     0.06/100        0.36/100
                   จากผู้ป่วยสมองตาย ต่อจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิต  จากปี 2565       hospital     hospital death
                   ในโรงพยาบาล                                                   death

                   4.อัตราส่วนของจำนวนผู้ยินยอมบริจาคดวงตา    เพิ่มขึ้น 20%     0.13/100        0.22/100

                   ต่อจำนวนผู้เสียชีวิตในโรงพยาบาล             จากปี 2565       hospital     hospital death
                                                                                 death


                  5. อภิปรายผล
                              จากการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่าการขอรับบริจาคอวัยวะ มีกระบวนการหลายขั้นตอน แต่ละขั้นตอน

                  ต้องการผู้มีทักษะ ประสบการณ์ เพื่อให้การขอรับบริจาคอวัยวะประสบความสำเร็จ ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีแนวคิด
                  ด้านการจัดการความรู้ของศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ วงษ์พาณิช ซึ่งหมายถึง การรวบรวมความรู้ที่มีอยู่
                  ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือ เอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อทำให้ทุกคนในองค์กร
                  เข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรมีการรวบรวมข้อมูล
                  ศึกษาหาความรู้ จากแหล่งข้อมูลแหล่งความรู้ต่างๆ และศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและผู้มี

                  ประสบการณ์งานขอรับบริจาคอวัยวะที่ประสบความสำเร็จ นำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้และจัดทำเป็น
                  แนวทางการขอรับบริจาคอวัยวะ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ
                  ผู้บริจาคอวัยวะ และผู้รับบริจาคอวัยวะ

                  6. สรุปและข้อเสนอแนะ

                         - เน้นกระบวนการจัดการความรู้ แนวทางปฏิบัติงานการรับบริจาคอวัยวะ บุคลากรส่วนใหญ่เห็นว่า
                  รูปแบบการพัฒนางานในองค์กรมีคุณภาพ มีประโยชน์ทำให้การดำเนินงานสะดวกขึ้น ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพ
                  และประสิทธิผลมากขึ้น
   479   480   481   482   483   484   485   486   487   488   489