Page 488 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 488
M26
การพัฒนาระบบการรับบริจาคอวัยวะและดวงตาโรงพยาบาลมหาสารคาม
นางสุชัญญ์ญา เดชศิริ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะและดวงตา โรงพยาบาลมหาสารคาม เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
1. ความสำคัญของปัญหาวิจัย
จากข้อมูลศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยมีผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจำนวน 8,937 คน
พบจำนวนผู้บริจาคอวัยวะ (Deceased actual organ donor) ทั้งหมด 3,910 ราย ในขณะที่มีจำนวนผู้ป่วย
ที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะอีกมากกว่า 6,000 รายต่อปี ข้อมูลจากศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทยมีจำนวนผู้ป่วย
ที่รอรับการปลูกถ่ายกระจกตา 11,027 ราย พบว่าความต้องการปลูกถ่ายอวัยวะและดวงตา เพื่อนำไปปลูกถ่าย
มีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่จำนวนผู้บริจาคมีจำนวนไม่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันมีการขยายระบบบริการการรับบริจาค
อวัยวะและดวงตาไปยังเครือข่ายเขตสุขภาพทั้ง 13 เขต ทั่วประเทศในรูปแบบของระบบบริการสุขภาพ
(Service Plan)
สาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะโรงพยาบาลมหาสารคาม มีรูปแบบการบริการเริ่มตั้งแต่
การประชาสัมพันธ์ผู้มีความประสงค์แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ การเจรจาขอรับบริจาคอวัยวะในผู้ป่วย
potential donor การดูแลผู้ป่วยเพื่อรอการผ่าตัดนำอวัยวะออก และการจัดเก็บดวงตา จากข้อมูลของศูนย์รับ
บริจาคอวัยวะ โรงพยาบาลมหาสารคามซึ่งดำเนินการตั้งแต่ปี 2554 มีจำนวนผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ
จำนวนทั้งสิ้น 8,621 ราย จำนวนผู้ป่วยที่ครอบครัวยินยอมบริจาคอวัยวะ 51 ราย ยินยอมบริจาคดวงตา
จำนวน 89 ดวง จากการทบทวนพบว่า เกิดการเข้าถึงบริการที่ล่าช้า ไม่ครอบคลุม บุคลากรมีประสบการณ์
ที่หลากหลายทำให้การปฏิบัติที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจพัฒนาระบบการรับบริจาคอวัยวะและดวงตา
โรงพยาบาลมหาสารคาม
2. วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของระบบการรับบริจาคอวัยวะและดวงตา โรงพยาบาลมหาสารคาม
3. วิธีการศึกษา การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ศึกษาและสถานการณ์
พบปัญหาคนไม่พอไม่มี Transplant Coordinate full time ต้องปฏิบัติงานประจำด้วย ทำให้มี
ความล่าช้าในการให้ข้อมูล กับครอบครัว potential donor แนวทางปฏิบัติยังไม่ชัดเจน ครอบครัวยังมีความ
เชื่อเรื่องอวัยวะไม่ครบก่อนเสียชีวิต ผู้ป่วยไม่ได้แจ้งความจำนงไว้ล่วงหน้า
ระยะที่ 2 ออกแบบการพัฒนาระบบการขอรับบริจาคอวัยวะและดวงตา
1. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นดังนี้ 1) การรับบริจาคอวัยวะในผู้ป่วย Brain dead และ
Cardiac dead 2) การคัดกรองและการดูแลผู้บริจาคอวัยวะสมองตาย 3) การ Detection & Selection
donor & Notify transplant coordinator nurse
2. จัดตั้งโครงสร้าง คณะกรรมการ คณะทำงาน TCWN จัดทำแผนปฏิบัติการระยะสั้น ระยะยาว และ
กำหนดเป็นนโยบาย เข็มมุ่งของ รพ. เพื่อให้สามารถบริหารจัดการ การทำงานและการเงินการคลังได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
3. ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบรับบริจาค 1 เรื่อง
4. กำหนดแนวทางในการขอรับบริจาคอวัยวะและดวงตาในผู้ป่วย brain dead และ cardiac dead
5. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสื่อสาร ทำให้การรับ/ส่งข้อมูล/แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว เช่น LINE