Page 501 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 501

N9
                         3.  เพื่อศึกษาสถานการณ์เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล, การใช้ยาต้านจุลชีพและส่งเสริมการใช้ยาต้าน
                  จุลชีพอย่างสมเหตุสมผล

                         4.  เพื่อเพิ่มอัตราการการปฏิบัติตาม Bundle MDR
                         5.  เพื่อจัดทำ standing order sepsis จากฐานข้อมูล antibiogram ของโรงพยาบาล

                  วิธีการศึกษา
                         เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา 8 ชนิด โดยบันทึกข้อมูลผ่าน Google Form ตั้งแต่เดือนตุลาคม

                  2566 - กันยายน 2567
                         การดำเนินงาน
                         1.  นำส่วนขาดจากการประเมินตนเองโดยใช้แบบประเมิน การจัดการ AMR อย่างบูรณาการมา
                  วิเคราะห์ส่วนขาด และปรับแนวทางและพัฒนา
                         2.  จัดตั้งคณะกรรมการ AMR โดยใช้ทีมเดียวกับ คณะกรรมการ IC และกำหนดทีม AMR Round

                  ซึ่งประกอบด้วย อายุรแพทย์ซึ่งเป็นประธาน IC เภสัชกร ICN มี Lab สนับสนุนข้อมูล จัดให้มีกิจกรรม AMR
                  Round ทุกวันอังคาร บ่าย โดยลง นิเทศ IPD ทุกแผนก
                         3.  ศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล ติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยดื้อยาและ

                  ผู้ป่วยที่ต้องใช้ใบ DUE ติดตามการปฏิบัติตามแนวทางเชื้อดื้อยา
                         4.  บันทึกข้อมูลผ่าน Google Form AMR Phanatnikhom เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลและประเมิน
                  โดย แบ่งเป็นส่วนของแพทย์และเภสัชกรศึกษาและเก็บข้อมูลของผู้ป่วย มีการระบุตำแหน่งหอผู้ป่วย เพศ อายุ
                  โรคประจำตัว ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยา ชนิดเชื้อดื้อยา ชนิดยา ขนาดยา intervention ของทีม

                  ส่วนของ IC ประเมินการปฏิบัติตามแนวทางเชื้อดื้อยา (RICHE)
                         5.  ปรับแนวทางเชื้อดื้อยาแยกระดับความรุนแรงตามสีผ้าปูเตียง และใช้ชาร์จผู้ป่วยดื้อยาเป็นสีฟ้า
                         6.  Feed back ข้อมูลส่วนขาดที่หน้างานและทบทวนแนวทางเพื่อให้แก้ไขทันที
                         7.  เก็บข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ สื่อสารในที่ประชุมคณะกรรมการ IC เพื่อปรับ

                  แนวทางพัฒนาและแก้ไขปัญหาร่วมกัน
                         8.  ประสาน IT ออกแบบโปรแกรม AMR Warning ร่วมกันเพื่อนำมาใช้ในการเฝ้าระวังการระบาดของ
                  เชื้อดื้อยาได้ทันท่วงที เพื่อป้องกันการระบาดเพิ่มและเก็บอัตราการตายจากเชื้อดื้อยาได้
                         9.  ร่วมประชุมกับเขต 6 ในการจัดการเชื้อดื้อยา และเรียนรู้การใช้โปรแกรม AMASS เชื่อมโยง

                  ฐานข้อมูลทางจุลชีววิทยาของโรงพยาบาล เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบแผนการดื้อยา หาอัตราการตายของ
                  โรงพยาบาลแยก CI/HAI และมีข้อมูล dashboard แสดงผลเปรียบเทียบ AMR ในระดับเขตและประเทศ

                  ผลการศึกษา
                         1.  ผลการประเมินการจัดการ AMR อย่างบูรณาการ (IAM) ได้เลื่อนระดับที่สูงขึ้นดังนี้
                         -  ธันวาคม 2564 = 208 คะแนน ผลการประเมิน พื้นฐาน BASIC

                         -  พฤศจิกายน 2566 = 432 คะแนน ผลการประเมิน การดำเนินการขั้นสูง Advance
                         2.  ผลการศึกษาสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา จากกิจกรรม AMR round เก็บข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมด
                  199 คน พบว่า ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 81 เป็นแผนกอายุรกรรมร้อยละ 56 แผนกศัลยกรรมร้อยละ

                  16 แผนกป่วยพิเศษร้อยละ 19 แผนกผู้ป่วย ICU ร้อยละ 11  เป็นการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลร้อยละ 13
                  จากชุมชนร้อยละ 87 โดยพบว่าเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาร้อยละ 62 และกลุ่มที่ไม่มีปัจจัย
                  เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาร้อยละ 25 ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดเชื้อดื้อยาที่พบมากที่สุดคือ มีประวัติการนอนรพ.
                  มากกว่า 2 วัน หรือได้รับยาฉีดปฏิชีวนะออกฤทธิ์กว้างใน 90 วัน ร้อยละ 89 เชื้อดื้อยาที่พบมากที่สุดคือ คือ
                  E.coli MDR รองลงมา คือ Klebseilla pneumoniae MDR ยาปฏิชีวะที่ใช้มากที่สุด คือ meropenem
   496   497   498   499   500   501   502   503   504   505   506