Page 512 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 512

N20
                         ผลการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลจังหวัดหนองคาย ปีงบประมาณ ๒๕๖๖


                                                                       เภสัชกรพิชิต บุตรสิงห์ โรงพยาบาลหนองคาย
                                                  เภสัชกรหญิงปิยะมาศ ปรีชาฎก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย

                                                                                                เขตสุขภาพที่ ๘
                                                                                ประเภท  นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ของประเทศไทย นับวันจะสูงขึ้น เรื่อย ๆ จะเห็นได้จาก งบประมาณค่า
                  รักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี ๒๕๕๗
                  ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ๔๐๙,๓๑๓ ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายด้านยาประมาณ ๑๖๓,๐๐๐ บาท หรือ
                  ประมาณร้อยละ ๔๐ นอกจากนี้ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะที่พร่ำเพรื่อ ไม่สมเหตุผลของคนไทย ยังส่งผลให้เกิด

                  ปัญหาเชื้อดื้อยาแพร่กระจายไปทั่วประเทศ จากข้อมูลสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ( สวรส.) พบว่า ปัญหาเชื้อ
                  ดื้อยาทำให้คนไทยเสียชีวิต ประมาณปีละ ๓๘,๐๐๐ คนคิดเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมสูงถึง
                  ๔๒,๐๐๐ ล้านบาท หรือประมาณ ร้อยละ ๐.๖ ของดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ กลุ่มงาน

                  เภสัชกรรม โรงพยาบาลหนองคาย ร่วมกับ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงาน
                  สาธารณสุขจังหวัดหนองคายจึงได้มีการดำเนินการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในจังหวัดหนองคายขึ้น
                  เพื่อขับเคลื่อนนโยบายเรื่องนี้ ของกระทรวงสาธารณสุขให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป

                  วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของจังหวัดหนองคาย
                  ตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขดังนี้ ทุกอำเภอจะต้องผ่าน

                         1.  RDU Hospital > ๑๐จาก ๑๒ ข้อ (ข้อ ๑-๔ อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะใน๔กลุ่มโรค RI, AD, FTW,
                  APL ข้อ๕ การใช้ยา RAS Blockade ร่วมกัน ๒ ชนิด ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ข้อ๖ การใช้ยา NSAIDs ใน
                  โรคไตเรื้อรังระดับ ๓ขึ้นไป ข้อ๗ การใช้ Metforminในผู้ป่วยเบาหวาน ข้อ๘การใช้ยา NSAIDs ซ้ำซ้อน ข้อ๙
                  การใช้ Inhaled corticosteroid ในผู้ป่วยหอบหืด ข้อ๑๐ การใช้ยากลุ่ม Long-acting benzodiazepine

                  ในผู้ป่วยสูงอายุ ข้อ๑๑ การใช้ยาต้านฮิสตามีนชนิด Non - sedating ในผู้ป่วยเด็ก RI ข้อ๑๒ การใช้ยาห้าม
                  ใช้ในสตรีตั้งครรภ์)
                         2.  RDU PCU > ร้อยละ ๘๐ ของ รพ.สต. ทั้งหมด ( อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะใน ๒ กลุ่มโรค RI, AD
                  ไม่เกินร้อยละ ๒๐)

                         3.  RDU Community มีร้านชำ RDU > ๑ แห่ง / อำเภอ

                  วิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research ) เปรียบเทียบ ผลการ
                  ดำเนินงานตามตัวชี้วัด การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดหนองคาย
                  ในไตรมาสที่๑ แล้วใส่ Intervention กิจกรรมการส่งเสริมได้แก่ การจัดประชุมคณะกรรมการวางแผนและ
                  ประเมินผลยุทธศาสตร์สุขภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข ของจังหวัดหนองคาย ( กวป.

                  คบ.สสจ.หนองคาย ) ซึ่งจะมีเภสัชกรเชี่ยวชาญของสสจ.หนองคายและโรงพยาบาลหนองคาย เป็นประธาน
                  หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมทุกโรงพยาบาลเป็นกรรมการ หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและ
                  เภสัชสาธารณสุขสสจ.หนองคายเป็นเลขา ซึ่งจะมีการประชุมติดตามความก้าวหน้างานส่งเสริมการใช้ยาอย่าง
                  สมเหตุผลของทุกอำเภอและจะมีการสรุปผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรคในการทำงาน เสนอ นพ.สสจ.

                  หนองคาย ผอ.รพ.ทุกแห่ง และ สสอ.ทุกอำเภอ ทุกเดือน และเปรียบเทียบผลงานในไตรมาสที่๓ ปีงบประมาณ
                  ๒๕๖๖ กลุ่มตัวอย่างและประชากร คือ โรงพยาบาลของรัฐ ๙ แห่ง, รพ.สต.๗๔ แห่ง และร้านชำ ๙ แห่ง
   507   508   509   510   511   512   513   514   515   516   517