Page 509 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 509
N17
ความชุกของเชื้อ Carbapenem-resistant Acinetobacter baumannii
ที่แยกได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลหนองคาย
นายอลงกรณ์ เวียงนนท์
โรงพยาบาลหนองคาย เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
เชื้อ Acinetobacter baumannii (A.baumannii) เป็นสาเหตุสำคัญของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
(nosocomial infection) เช่น การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ, กระแสเลือด, ปอด, ช่องท้อง, เยื่อหุ้ม
สมอง, แผลผ่าตัด และเยื่อบุหัวใจชั้นใน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
อุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อ A.baumannii จากโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นจาก ร้อยละ 2 - 4 เป็นร้อยละ 10 - 30
ภายในเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการส่งตรวจเพื่อทดสอบความไวของเชื้อต่อยาชนิดต่างๆ จึงทำให้
มีการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสม ส่งผลทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
A.baumannii เพิ่มขึ้น
จากผลการเพาะเชื้อก่อโรคทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิกโรงพยาบาลหนองคาย ในปี
พ.ศ. 2566 พบจำนวนเชื้อ A.baumannii สูงเป็นลำดับที่ 3 ของเชื้อแบคทีเรียที่เพาะได้ทั้งหมด และเป็นลำดับ
ที่ 1 ของเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพ โดยผลการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ
A.baumannii ที่พบจากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยโรงพยาบาลหนองคาย พบว่าเชื้อที่ดื้อต่อยากลุ่ม carbapenems
(carbapenem-resistant Acinetobacter baumannii; CRAB) มีความไวต่ำต่อยาต้านจุลชีพเมื่อเทียบกับ
เชื้อชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะผู้ป่วยขั้นวิกฤติ ดังนั้น จึงได้ศึกษา
ความชุกของเชื้อ CRAB ที่แยกได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลหนองคายปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2566 โดยจำแนก
ออกเป็น ปี, เพศ, หอผู้ป่วย และวิเคราะห์รูปแบบความไวต่อยาต้านจุลชีพ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันไม่ให้
เกิดการติดเชื้อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้ป่วยอื่นๆ (cross infection) แก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อดื้อยา
ชนิด CRAB และการเลือกใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยที่เหมาะสมต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อศึกษาความชุกของเชื้อ CRAB ที่แยกได้จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลหนองคาย
ปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2566
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ จากฐานข้อมูลโปรแกรม
สารสนเทศห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก (MLAB) ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลหนองคาย ที่มีผลเพาะเชื้อพบ
เชื้อแบคทีเรีย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 รวมทั้งหมด 5 ปี
ประชากร ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหนองคายที่มีผลการเพาะเชื้อพบเชื้อ A.baumannii
กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหนองคายช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562
ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ที่มีผลการเพาะเชื้อพบเชื้อ A.baumannii
เกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion criteria) มีผลการเพาะเชื้อพบเชื้อ A.baumannii
เกณฑ์การคัดออก (Exclusion criteria) ไม่มีผลการเพาะเชื้อพบเชื้อ A.baumannii แต่มีการพบเชื้ออื่นๆ