Page 513 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 513
N21
ในจังหวัดหนองคาย เก็บข้อมูลช่วง มกราคม - กรกฎาคม ๒๕๖๖ เครื่องมือในการวิจัย สำหรับตัวชี้วัด RDU
Hospital และ RDU PCU ประมวลผลโดยใช้ Health Data Center ( HDC ) ของกระทรวงสาธารณสุข
ส่วน RDU Community ใช้แบบประเมินร้านชำ RDU ของกระทรวงสาธารณสุข ( ต้องไม่พบยาอันตราย
ยาควบคุมพิเศษ ยาชุด และยาหมดอายุ ) สถิติที่ใช้ เป็นสัดส่วนและร้อยละ
ผลการศึกษา
โรงพยาบาล ไตรมาส ๑ ปีงบ ๒๕๖๖(ก่อนส่งเสริม) ไตรมาส ๓ ปีงบ ๒๕๖๖(หลังส่งเสริม)
RDU RDU RDU RDU RDU RDU RDU RDU
Hosp. PCU Community District Hosp. PCU Community District
(ข้อ) (ร้อยละ) (แห่ง)
1. รพ.หนองคาย ๑๐/๑๒ ๕๐.๐ ๐ ไม่ผ่าน ๑๑/๑๒ ๑๐๐.๐ ๑ ผ่าน
2. รพ.ยุพราชท่าบ่อ ๑๑/๑๒ ๙๐.๐ ๑ ผ่าน ๑๒/๑๒ ๑๐๐.๐ ๑ ผ่าน
3. โพนพิสัย ๑๐/๑๒ ๘๐.๐ ๑ ผ่าน ๑๑/๑๒ ๑๐๐.๐ ๑ ผ่าน
4. รพ.ศรีเชียงใหม่ ๑๒/๑๒ ๘๓.๓ ๑ ผ่าน ๑๒/๑๒ ๑๐๐.๐ ๑ ผ่าน
5. รพ.สังคม ๑๒/๑๒ ๖๐.๐ ๐ ไม่ผ่าน ๑๒/๑๒ ๑๐๐.๐ ๑ ผ่าน
6. รพ.สระใคร ๑๑/๑๒ ๖๖.๗ ๐ ไม่ผ่าน ๑๒/๑๒ ๑๐๐.๐ ๑ ผ่าน
7. รพ.โพธิ์ตาก ๑๑/๑๒ ๔๐.๐ ๐ ไม่ผ่าน ๑๑/๑๒ ๑๐๐.๐ ๑ ผ่าน
8. รพ.เฝ้าไร่ ๑๒/๑๒ ๘๕.๗ ๑ ผ่าน ๑๒/๑๒ ๑๐๐.๐ ๑ ผ่าน
9. รพ.รัตนวาปี ๑๒/๑๒ ๑๐๐.๐ ๑ ผ่าน ๑๒/๑๒ ๑๐๐.๐ ๑ ผ่าน
อภิปรายผล: จากผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของจังหวัดหนองคายตาม
ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขในไตรมาสที่ ๑ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ก่อนที่จะมีกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยา
อย่างสมเหตุผลโดย กวป.คบ.สสจ.หนองคาย ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมทั้งจาก สสจ. / รพท.
/รพช.ทุกแห่งในจังหวัดหนองคาย มี ๕ อำเภอที่ผ่านเกณฑ์ RDU District ( ร้อยละ๕๕.๕ ) และในไตรมาสที่ ๓
ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ หลังมีกิจกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลพบว่ามี ๙ อำเภอที่ผ่านเกณฑ์ RDU
District ( ร้อยละ๑๐๐.๐ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ ๔๔.๕ ซึ่งเป็นผลงานที่สูงที่สุดของเขตสุขภาพที่ ๘ จนได้รับรางวัล
การส่งเสริมใช้ยาอย่างสมเหตุผล ระดับดีเยี่ยมจากผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ ๘ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ - ๒๕๖๖
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปจากผลการศึกษาจะพบว่าปัจจัยทำให้จังหวัดหนองคายมีผลการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาอย่าง
สมเหตุผลประสบความสำเร็จได้แก่ ๑. การทำงานเป็นทีมของเภสัชกรในจังหวัดหนองคายทั้งจาก สสจ./รพท./
รพช. ๒. การวิเคราะห์ข้อมูลของทีมเลขาที่ทำให้ทราบว่าปัญหาอยู่ตรงไหนและจะแก้อย่างไร ๓. การติดตาม
และประเมินผลที่สม่ำเสมอทุกเดือนเนื่องจากตัวชี้วัดRDUนี้เป็นเป็นแบบ Dynamic เปลี่ยนได้ทุกวันถ้าขาด
การติดตามที่สม่ำเสมอจะมีโอกาสตกเกณฑ์ได้ง่าย ๔. การให้ความสำคัญของผู้บริหารทั้ง นพ.สสจ. / ผอ.รพ. /
สสอ. / ผอ.รพ.สต.ทุกแห่ง
ข้อเสนอแนะ ๑. ตัวชี้วัดบางตัวผิดแค่ครั้งเดียวก็ตกเกณฑ์ได้ เช่น การใช้ยา RAS Blockade ร่วมกัน
๒ ชนิด ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หรือ การใช้ยาห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์ ต้องมีระบบ IT POP UP มาช่วย ๒. ยิ่งยา
เยอะ แพทย์เยอะยิ่งทำยากดังนั้น ตัวชี้วัดระดับโรงพยาบาลขนาดใหญ่กับเล็กควรต่างกัน ๓. กรณี รพ.สต.ต้องย้าย
ไปสังกัด อบจ. การประสานตัวชี้วัด RDU PCU จะยากขึ้น ควรหาจุดเชื่อมประสานที่ดีระหว่าง สสจ.กับอบจ.