Page 516 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 516
N24
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูล HosXp ของโรงพยาบาลจัตุรัส
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2566 โดยปริมาณการใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดในการศึกษานี้
เก็บจากปริมาณยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดที่จ่ายออกแต่ละรายการของแผนกผู้ป่วยในและเก็บข้อมูลจำนวน
วันนอนผู้ป่วยในของแต่ละปีงบประมาณที่ศึกษา(หน่วย:วัน) จากงานเวชระเบียนและสถิติของโรงพยาบาลจัตุรัส
ใช้โปรแกรม RDUR9 version 63.01.01 เขตสุขภาพที่9 วิเคราะห์หาค่า DDD ซึ่งแสดงข้อมูลในรูปแบบของ
DDD ต่อ 100 วันนอน และนำปริมาณยาที่จ่ายออกมาคิดมูลค่าการสั่งใช้จากราคาที่จัดซื้อในแต่ละปีที่ศึกษา
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และ ร้อยละ ของตัวแปรต่างๆที่ศึกษา โดยมีเกณฑ์คัดเข้า
และเกณฑ์คัดออก ดังนี้
เกณฑ์คัดเข้า: ปริมาณการใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดฉีด(หน่วย:กรัม) ที่มีการสั่งใช้ในช่วงวันที่
1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2566 ในผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
เกณฑ์คัดออก: ปริมาณการใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดฉีด (หน่วย:กรัม) ของยาตัวอย่าง ยาเฉพาะ
ราย ยาโครงการวิจัย
วิเคราะห์มูลค่ายาและขนาดการใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดในหน่วย DDD และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละของตัวแปรต่างๆที่ศึกษา
คำจำกัดความ:
Defined daily dose (DDD) หมายถึง ผลรวมของปริมาณยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดในช่วงที่ศึกษาหาร
ด้วยปริมาณยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดที่แนะนำให้ใช้ต่อหนึ่งวัน โดยคิดเป็นจำนวน DDD ของยาต้านจุลชีพชนิด
ฉีดที่สั่งใช้กับผู้ป่วยในต่อ 100 วันนอน (WHO-As-signed DDD) โดยมีสูตรคำนวณดังนี้
DDD/100 population/day สามารถคำนวณได้ จากสูตรดังต่อไปนี้
DDD = N x 100
M x D
เมื่อ N = ปริมาณยาที่มีการจ่ายออก(หน่วย:กรัม) ในรอบ 1 ปีที่ศึกษา
M = มวลรวมของยาแต่ละ dose ในหน่วยเดียวกับที่ระบุใน DDD (เช่น มิลลิกรัม หรือ กรัม)
D = จำนวนวันนอนของประชากรที่ศึกษา (หน่วย:วัน)
(DDD = defined daily dose ของยาแต่ละตัวสามารถค้นได้จาก ATC/DDD index 2022)
มูลค่ายา = N x P
เมื่อ N = ปริมาณยาที่มีการจ่ายออก(หน่วย:กรัม) ในรอบ 1 ปีที่ศึกษา
P = ราคายาแต่ละรายการ(บาท)
ผลการศึกษา: พบว่ามูลค่าการใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2566 รวมมีมูลค่าเท่ากับ
2,992,767บาท โดยในแต่ละปีงบประมาณมีมูลค่าเท่ากับ 907,482 บาท 887,663 บาท และ 1,197,622 บาท
ตามลำดับ ทั้งนี้การใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดมีมูลค่าสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 14.54 ต่อปี เมื่อพิจารณาปริมาณ
การใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดแยกรายกลุ่มยารวมทั้ง 3 ปีงบประมาณ พบว่ากลุ่มยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดที่มี
ปริมาณการใช้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ Cephalosporines3rd , กลุ่ม Lincosamide และกลุ่ม DNA
inhibitors ตามลำดับ มูลค่าการใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดรวม 3 ปีงบประมาณแยกตามรายการยา พบว่า
รายการที่มีมูลค่าการใช้สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ยา Meropenem, Ceftazidime และ Ceftriaxone เท่ากับ
671,797 บาท 562,080 บาท และ 440,217 บาท ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 22.45, 17.58 และ 14.71
ของมูลค่าการใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดรวมทั้งหมด ตามลำดับ ส่วนปริมาณการใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดใน
หน่วย DDD ในแผนกผู้ป่วยใน ในช่วงปีงบประมาณ 2564-2566 แยกรายชนิดยาสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
Ceftriaxone, Clindamycin และ Ceftazidime เท่ากับ 43.77, 16.34 และ 11.32 ตามลำดับ