Page 515 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 515

N23
                                      ปริมาณและมูลค่าการสั่งใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีด

                       ในหน่วย defined daily dose (DDD) ในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
                    (Quantity and Value of Injectable Antibacterial Drugs Prescribed at In-patient

                                Department of Chatturat Hospital, Chaiyaphum Province)


                                                                                       เภสัชกรหญิงพาณี ชัยจันดี
                                                          โรงพยาบาลจัตุรัส อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ เขตสุขภาพที่ 9

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial resistance) เป็นปัญหาที่สำคัญทางการแพทย์ของ
                  ประเทศเพราะก่อให้เกิดความเสียหายหลายด้าน ทั้งด้านผลการรักษา ทำให้ผลการรักษาหายช้า รักษาไม่หาย
                  หรือเสียชีวิตได้ สาเหตุมาจากยาต้านแบคทีเรียไม่สามารถทำลายเชื้อโรคได้  เชื้อดื้อยาต้ายแบคทีเรียที่เป็น
                  สาเหตุในการเสียชีวิตจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อ Acinetobacter spp. และ
                  Pseudomonas spp. ในด้านค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นเพราะต้องใช้ยาต้านแบคทีเรียที่มีราคาแพง อันตราย หรือ

                  ร่วมกันหลายขนานในการักษา นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อและเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมักจะได้รับ
                  การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อต้องการให้ยาออกฤทธิ์ที่เร็วแต่ไม่ทราบชนิดของ
                  เชื้อก่อโรค ( empirical therapy )  ส่งผลให้มีโอกาสเกิดเชื้อดื้อยาและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทย

                  การศึกษาเบื้องต้นพบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณปีละ 88,000 รายและเสียชีวิตประมาณปีละ
                  38,000 ราย คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมถึง 4.2 หมื่นล้านบาท ในปีงบประมาณ 2562 กระทรวง
                  สาธารณสุขได้เริมการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug
                  hospital) มีการดำเนินการ 2 ส่วน ได้แก่  การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในโรงพยาบาลและการจัดการ

                  การดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการ มีการศึกษาหลายการศึกษาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของการเกิดเชื้อดื้อยา
                  กับการใช้ยาต้านจุลชีพที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ค่า DDD ในการติดตาม
                         โรงพยาบาลจัตุรัสมีค่า Defined Daily Dose (DDD) รวมของยาปฏิชีวนะชนิดฉีดทุกรายการที่ใช้ใน
                  ผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล(Admit) ต่อ 100 วันนอน ปีงบประมาณ 2564-2566  แบ่งตามระดับจังหวัด

                  ได้แก่ 74.40(อันดับ3), 65.78(อันดับ6) และ115.69(อันดับ1) ส่วนในระดับเขตสุขภาพที่ 9 ได้แก่ 74.40
                  (อันดับ6), 65.78(อันดับ12) และ115.69(อันดับ1) จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณการใช้ยา
                  ต้านแบคทีเรียชนิดฉีดตามรายการและกลุ่มยาต่างๆและมูลค่าการใช้ในโรงพยาบาลจัตุรัส โดยการวัดผลลัพธ์
                  ด้านการใช้ยาต้านจุลชีพแบบขนาดยากำหนดต่อวัน(defined daily dose; DDD) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่องค์การ

                  อนามัยโลกแนะนำให้ใช้เป็นหน่วยมาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบปริมาณการบริโภคยาในโรงพยาบาลระหว่าง
                  โรงพยาบาล และหามูลค่าการใช้ยาต้านจุลชีพจากปริมาณการจ่ายออกในรอบ 1 ปี ที่ศึกษาคูณด้วยราคายา
                  แต่ละรายการ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา: เพื่อวิเคราะห์หามูลค่าและปริมาณการใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีดในรูปแบบ DDD
                  แยกตามรายการและกลุ่มยาต้านแบคทีเรียที่มีในโรงพยาบาลจัตุรัส ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 –

                  30 กันยายน 2566
   510   511   512   513   514   515   516   517   518   519   520