Page 511 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 511
N19
รูปแบบความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ CRAB
แผนภูมิที่ 2 แสดงร้อยละความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ CRAB ในปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2566
100.00 100.00
90.00
80.00
70.00
60.00
50.00 35.20
40.00 26.11
30.00
20.00 8.91 10.38
10.00 0.00 0.00 0.47 0.78 1.10 1.65
0.00
รูปแบบความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ CRAB ที่มีความไวมากที่สุด 5 ลำดับแรกคือ Colistin ร้อยละ
100, Trimethoprim-sulfamethoxazole ร้อยละ 35.20, Amikacin ร้อยละ 26.11, Gentamicin ร้อยละ
10.38 และ Ampicillin-sulbactam ร้อยละ 8.91 ตามลำดับ
อภิปรายผล: ความชุกของเชื้อ CRAB ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลหนองคาย ปี พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2566 พบ
จำนวน 1,692 isolated คิดเป็นร้อยละ 74.93 ของเชื้อ A.baumannii ที่พบทั้งหมด พบมากในเพศชาย
จำนวน 1,057 isolated คิดเป็นร้อยละ 62.45 โดยในปี พ.ศ. 2565 พบจำนวนสูงสุด 412 isolated คิดเป็น
ร้อยละ 24.35 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น พบมากสุดในหอหอผู้ป่วยหนัก2 (ICU2) จำนวน 330 isolated คิดเป็น
ร้อยละ 19.50 รูปแบบความไวต่อยาพบว่าจะดื้อยาเกือบทุกชนิด ยกเว้นยาต้านจุลชีพ colistin ซึ่งมีความไว
มากที่สุด คือร้อยละ 100
สรุปและข้อเสนอแนะ: เชื้อ CRAB ส่วนใหญ่มักดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลายชนิด การที่มีความชุกของเชื้อเพิ่มมาก
ขึ้น และความไวต่อยาลดลง ส่งผลให้การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษาโรคติดเชื้อความซับซ้อนมากขึ้น
ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล และอัตราการตายจากการติดเชื้อ
สูงขึ้น เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ผู้บริหาร และบุคลากรทางการแพทย์ ควรตระหนักและมีมาตรการ
ควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโดยวิธีการ hand hygiene และ isolation precaution และประเมินผลการใช้ยา
ต้านจุลชีพที่เหมาะสมเพื่อผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ทันเวลา ลดการใช้ยาต้านจุลชีพ
โดยไม่จำเป็น