Page 518 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 518
N26
ผลลัพธ์ของการใช้ระบบกำกับการสั่งใช้ยา Meropenem แผนกผู้ป่วยใน รพ.ประโคนชัย
เภสัชกรชาตรี ปันอิน, เภสัชกรหญิงธัญชนก โพใครศรี
โรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรงพยาบาลประโคนชัยเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 144 เตียง จากการทบทวนการใช้ยา
meropenem ซึ่งเป็นยา board spectrum antibiotic ที่มีปริมาณและมูลค่าการใช้ยาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่ปี 2563 และพบแนวโน้มของเชื้อ Enterobactericeae, Pseudomonas aeruginosa และ
Acinetobacter baumannii ที่ดื้อต่อยากลุ่ม carbapenems เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.34 ในปี 2564 เป็น 10.12
ในปี 2566 ประกอบกับมีนโยบาย antibiotic stewardship program เพื่อจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ
ในโรงพยาบาลอย่างบูรณาการ โดยโรงพยาบาลประโคนชัยยังไม่มีระบบกำกับการใช้ยา meropenem
ที่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาเชื้อดื้อยาและค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล จึงได้พัฒนาระบบ
กำกับการสั่งใช้ยา meropenem ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพขึ้น โดยใช้แบบฟอร์มขออนุมัติก่อนการใช้ยา
(pre-authorization form) ในการสั่งใช้ยาครั้งแรก
วัตถุประสงค์การศึกษา
- เพื่อศึกษาผลของการใช้ระบบกำกับการสั่งใช้ยาต่อปริมาณการใช้ยา meropenem
- เพื่อศึกษาผลของการใช้ระบบกำกับการสั่งใช้ยาต่อความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา meropenem
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง (retrospective study) ในผู้ป่วยที่ได้รับการสั่ง
ใช้ยา meropenem ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2566 - 29 ก.พ. 2567 เทียบกับข้อมูลเดิมก่อนใช้ระบบ รายงานผล
ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ t-test
ผลการศึกษา
ในช่วงเวลาที่ศึกษามีผู้ป่วยที่ใช้ยา meropenem จำนวน 75 ราย แบ่งเป็นเพศชาย ร้อยละ 49.33
และเพศหญิง ร้อยละ 50.67 อายุเฉลี่ย 63.04 ปี (16-94) แบ่งเป็น empirical therapy ร้อยละ 66.67 และ
documented therapy ร้อยละ 33.33 โดยเป็นการใช้สำหรับการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 48.00
ติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 21.33 ไข้ไม่ทราบสาเหตุ ร้อยละ 10.67 และอื่นๆ ซึ่งการสั่งใช้ยาเป็นการเริ่ม
ใช้ที่โรงพยาบาลประโคนชัยจนจบการรักษา ร้อยละ 64.00 การให้ยาแล้ว refer ไป โรงพยาบาลศูนย์ ร้อยละ
10.67 และการใช้ยาตามการ refer back ร้อยละ 25.33
ภายหลังการใช้ระบบกำกับการใช้ยาพบว่าขนาดการใช้ยา meropenem แผนกผู้ป่วยใน ในหน่วย
defined daily dose (DDD)/1,000 วันนอน มีปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากเฉลี่ย 38.66
เป็น 21.00 DDD/1,000 วันนอน (p=.01) ในส่วนของความเหมาะสมด้านข้อบ่งใช้เมื่อพิจารณาตามปัจจัย
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สร้างเอนไซม์ extended spectrum beta-lactamase (ESBL) เอนไซม์
cephalosporinase หรือล้มเหลวต่อการรักษาด้วยยาทางเลือกหลักสำหรับกรณี empiric therapy และ
พิจารณาตามผลทดสอบความไวของเชื้อต่อยา (susceptibility test) สำหรับกรณี documented therapy
พบว่ามีความเหมาะสมร้อยละ 100 ทั้ง 2 กรณี แต่ยังพบปัญหาในกลุ่มที่ใช้ยาแบบ empiric therapy
อีกร้อยละ 50 ยังไม่มีการ de-escalation therapy แม้ว่าผลเพาะเชื้อไม่พบเชื้อ (no growth) หรือเชื้อมีความ
ไวต่อยาต้านจุลชีพที่ครอบคลุมเชื้อแคบกว่า