Page 555 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 555

O30

                       FIT FOR FACE ต่อการฟื้นฟูใบหน้า (FIT FOR FACE for facial rehabilitation)


                                                                                          นางสาวณัฐฐิญา ศรีคูณ

                                                                โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร เขตสุขภาพที่ 8
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความส าคัญของปัญหาวิจัย
                         ภายในโรงพยาบาลสกลนครได้มีการให้บริการผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care:IMC) เป็นการ

                  ให้บริการทางกายภาพบ าบัดเเบบเข้มข้น (Intensive rehabilitation) ให้บริการฟื้นฟูแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือด

                  สมอง ทั้งในโรงพยาบาล ติดตามเยี่ยมบ้าน และฟื้นฟูตลอดระยะ 6 เดือนหลังจากเกิดโรค ปัญหาหนึ่งของผู้ป่วย
                  โรคหลอดเลือดสมองที่พบได้และต้องได้รับการฟื้นฟูทางกายภาพบ าบัดทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล คือ ปัญหา

                  ด้านการพูดและกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง (Oro-facial impairment) โดยผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่จะพบ

                  ปัญหาด้านการอ่อนแรงของใบหน้าครึ่งซีก (Facial  palsy) ที่มีความเกี่ยวข้องกับสมองส่วนพอนส์ (Pons)
                  ท าหน้าที่ควบคุมและสั่งการกล้ามเนื้อใบหน้า ด้านตรงข้ามของด้านที่มีพยาธิสภาพ และ Corticobollar fiber

                  ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าและส่งผลการพูด จะท าให้ผู้ป่วยมีมุมปากตก พูดไม่ชัด โดยการ

                  รักษาและฟื้นฟูทางกายภาพบ าบัดมีหลากหลาย เช่น การบริหาร (Exercise) การนวด (Massage) การกระตุ้น
                  ไฟฟ้า (Electrical stimulation) การประคบร้อน (Hot pack) ในการรักษาและฟื้นฟูทางกายภาพบ าบัด

                  ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกล้ามเนื้อใบหน้าโดยการตอบสนองทางชีวะ (Biofeedback) เพื่อเป็นการ
                  กระตุ้นการตอบสนองของร่างกายโดยใช้กระจก (Mirror biofeedback) ในการกระตุ้นการท างานของ

                  กล้ามเนื้อเเขน กล้ามเนื้อขา รวมไปถึงกล้ามเนื้อใบหน้า พบว่าส่งผลดีต่อการฟื้นฟูในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

                  ได้ดีมากกว่าการบริหารเเบบทั่วไป เเต่ยังขาดนวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูเองที่บ้านหรือโรงพยาบาลได้อย่าง
                  สะดวกและถูกต้อง


                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         2.1 เป็นการคิดค้นเพื่อฟื้นฟูปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองที่มีปัญหากล้ามเนื้อ
                  อ่อนแรง (Facial palsy)


                         2.2 ส ารวจและวิเคราะห์ความพึงพอใจของการใช้งานวัตกรรมของนักกายภาพบ าบัดและผู้เชี่ยวชาญ
                  เพื่อน าร่องก่อนน าไปใช้ในผู้ป่วย โดยระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากหรือมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ มากกว่า

                  ร้อยละ 90

                         2.3 ส ารวจและวิเคราะห์ความพึงพอใจของการใช้งานวัตกรรมของผู้ป่วยโดยระดับความพึงพอใจอยู่ใน

                  ระดับ มากหรือมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ มากกว่าร้อยละ 90
   550   551   552   553   554   555   556   557   558   559   560