Page 560 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 560
O35
ผลการด าเนินงาน
การดูแลผู้ป่วย IMC TTM โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
อภิปรายผล
ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแล IMC TTM ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2566 จ านวน 54 ราย
มีคะแนน Barthel index ณ วันจ าหน่ายออกจากโรงพยาบาล เพิ่มขึ้น 84% และเมื่อสิ้นสุดระยะติดตาม
มี Barthel index เพิ่มขึ้น 87% จากวันที่จ าหน่าย สะท้อนให้เห็นผลของการฟื้นฟูผู้ป่วยแบบองค์รวมจาก
ทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง รวมถึงระบบการดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ
ค่าBarthel index คงที่ ณ วันจ าหน่ายออกจากโรงพยาบาลและครบ 6 เดือน เป็น 16% และ 3% ตามล าดับ
และค่าBarthel index ลดลง 10% เมื่อครบ 6 เดือน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่า
Barthel index แรกรับน้อยกว่า 5 คะแนน อายุมากกว่า 60 ปี และมีโรคประจ าตัวร่วมหลายอย่าง แต่ทั้งนี้
อาจต้องมีการท าการศึกษาวิจัยข้อมูลในเชิงลึกเพิ่มเติม เพื่อน ามาพัฒนาระบบบริการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนี้ ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากการให้บริการการแพทย์แผนไทยในการดูผู้ป่วย IMC TTM โรงพยาบาล
สกลนคร เนื่องจากระบบคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพจากทีมสหสาขาวิชาชีพ การปรับโปรแกรมให้เหมาะสม
กับผู้ป่วยแต่ละราย รวมทั้งการให้บริการภายใต้มาตรฐานของวิชาชีพ
สรุปและข้อเสนอแนะ
การดูแลผู้ป่วย IMC TTM โรงพยาบาลสกลนครร่วมกับการติดตามต่อเนื่องในชุมชน ช่วยให้ผู้ป่วย
ระยะกลางมากกว่าร้อยละ 80 มีค่าคะแนน Barthel เพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจต้องศึกษาวิจัยข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมถึง
ปัจจัยที่มีผลให้ค่าคะแนน Barthel indexคงที่และลดลง โดยมีการควบคุมตัวแปรต่างๆ เพื่อน าข้อมูลที่ได้มา
ก าหนดแนวทางให้เหมาะกับกับผู้ป่วยและพัฒนาระบบบริการ IMC TTM ของโรงพยาบาลสกลนครต่อไป
ภาพกิจกรรมการด าเนินงาน IMC TTM รพ.สกลนคร