Page 559 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 559
O34
วิธีการด าเนินงาน
1) การจัดตั้งทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู อายุรแพทย์ระบบประสาท
ศัลยแพทย์ระบบประสาท ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบ าบัด นักจิตวิทยา
แพทย์แผนไทย นักกายอุปกรณ์ นักสังคมสงเคราะห์ และนักโภชนาการ
2) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง เพื่อพัฒนา
ศักยภาพและเสริมความมั่นใจในการดูและผู้ป่วยระยะกลางให้ทีมสหสาขาวิชาชีพ
3) จัดท า Care protocol เพื่อก าหนดขั้นตอน บทบาท และความรับผิดชอบ ตามมาตรฐานของแต่ละ
วิชาชีพในการให้การดูแลแบบบูรณาการ และก าหนดช่วงเวลาการให้บริการที่ชัดเจน เพื่อลดการซ้อนทับของ
ระยะเวลาการให้บริการ
4) คัดกรองผู้ป่วยเพื่อเข้าสู่ระบบ IMC TTM โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูร่วมกับนักกายภาพบ าบัด และ
พยาบาลประจ าหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาท หอผู้ป่วยอุบัติเหตุ หอผู้ป่วย
ศัลยกรรมกระดูกและข้อ หอผู้ป่วยพิเศษ เพื่อพิจารณาความพร้อมและปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย
5) พยาบาลประสานไปยังทีมสหสาขาวิชาชีพ ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ เพื่อแจ้งว่ามีผู้ป่วย IMC TTM
ซึ่งเป็นกลุ่มมีทีมสหสาขาวิชาชีพครบถ้วน เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการประสานงาน และครอบคลุมทุกสาขา
6) ให้การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยตาม care protocol ที่ โดยให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมาย
รวมทั้งการวางแผนในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วย และมีการประเมินคะแนน Barthel index ก่อนและหลังการฟื้นฟู
เพื่อน าข้อมูลมาพัฒนาคุณภาพของการให้บริการ
7) หลังจ าหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลมีการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยผ่านทาง Program smart IMC R8
เพื่อส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยให้กับทีมสหสาขาวิชาชีพที่รับผิดชอบในการลงเยี่ยมฟื้นฟูผู้ป่วยในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
8) จัดท าสื่อให้ความรู้ผ่านเว็บไซต์ของโรงพยาบาล ทั้งในรูปแบบแผ่นพับ และคลิปวิดีโอให้ความรู้แก่
ผู้ป่วยและญาติ โดยทีมนักกายภาพบ าบัดโรงพยาบาลสกลนคร
9) จัดประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อติดตาม ทบทวน และปรับปรุงระบบบริการให้ดียิ่งขึ้น
10) มีการตีพิมพ์งานวิจัยและการน าเสนอผลงานในระดับประเทศ เพื่อแบ่งปันข้อมูลและเป็นแนวทาง
ในการพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยระยะกลางแก่โรงพยาบาลอื่นๆ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรม
ในการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง