Page 558 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 558
O33
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง แบบบูรณาการร่วมกับการแพทย์แผนไทย
(IMC TTM) โรงพยาบาลสกลนคร
คณะกรรมการการดูแลผู้ป่วยระยะกลาง โรงพยาบาลสกลนคร
โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความส าคัญของปัญหา
การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง ประกอบด้วย การดูแลผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคหลัก ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง
สมองได้รับบาดเจ็บ ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บและกระดูกสะโพกหัก กลุ่มโรคเหล่านี้เป็นโรคที่พบได้บ่อย
เนื่องจากประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยการด าเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ท าให้อุบัติการณ์ของภาวะเหล่านี้
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ป่วย ครอบครัว และระบบสาธารณสุข การฟื้นฟูผู้ป่วยระยะ
กลาง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยมีปัญหาซับซ้อนหลายด้าน หากได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสมเพียงพอ อาจท าให้
ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีโอกาสเกิดภาวะทุพพลภาพได้สูง ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
อาศัยการดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุม โดยการ
ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ปรับแผนการดูแลให้มีความเหมาะสมกับบริบทของผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบัน
โรงพยาบาลสกลนครได้มีการบูรณาการเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยระยะกลางระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบัน และ
การแพทย์แผนไทย หรือ Intermediate Care Integrated with Thai Traditional Medicine (IMC TTM)
โดยแพทย์แผนไทยเข้ามามีบทบาทในการดูแลรักษาและท าการฟื้นฟูร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่มีความ
เชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละสาขา เพื่อให้ดูแลผู้ป่วยระยะกลางได้อย่างครอบคลุม เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ
สูงสุด ตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยพิจารณาไม่เพียงแต่การรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ยังรวมถึง
การฟื้นฟูสมรรถภาพ การสนับสนุนด้านจิตใจ และปัจจัยทางสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของ
ผู้ป่วย ภายใต้ระบบการดูแลแบบไร้รอยต่อ โดยพัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการ และเชื่อมโยงกับหน่วยบริการ
ทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลไปจนถึงการฟื้นฟูต่อเนื่องที่ชุมชน เพื่อลดโอกาสใน
การเกิดภาวะแทรกซ้อน ลดภาวะทุพพลภาพ กลับเข้าสู่สังคมได้อย่างเต็มศักยภาพ และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมี
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยระยะกลางโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ในการฟื้นฟูผู้ป่วยตั้งแต่
อยู่ที่โรงพยาบาลต่อเนื่องไปจนถึงชุมชน ให้มีความครอบคลุม และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2) เพื่อบูรณาการเชื่อมโยงบริการการแพทย์แผนปัจจุบัน กับการแพทย์แผนไทยในการรักษา
การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูในผู้ป่วยระยะกลาง