Page 611 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 611
P42
การพัฒนาการดูแลแผลกดทับของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยท่าคว่ำ
ในห้องผ่าตัดศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี
นางสาวอรพันธ์ พรรณ
ประดิษฐ์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขตสุขภาพที่ 13
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
แผลกดทับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว
และส่งผลต่อชื่อเสียงขององค์กรที่ให้บริการสุขภาพ เนื่องจากแผลกดทับเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ อีกทั้งปัญหาแผลกดทับ
ยังเพิ่มภาระงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และเมื่อกลับบ้านก็เพิ่มภาระให้บุคคลในครอบครัว จาก
การศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับสูงกว่าการป้องกันถึง 2.5 เท่า จากสถิติการเกิดแผลกดทับใน
โรงพยาบาลทั่วโลกคิดเป็นร้อยละ 8.4 ส่วนสถิติการเกิดแผลกดทับของโรงพยาบาลรามาธิบดี สำรวจเมื่อ
ปี พ.ศ. 2565 พบแผลกดทับ 5.57 ต่อ 1,000 วันนอน จากสถิติพบว่าโรงพยาบาลรามาธิบดีมีสถิติดีกว่าสถิติ
โลก แต่ข้าพเจ้าคิดว่าสามารถทำได้ดีขึ้นไปอีกโดยเริ่มที่ห้องผ่าตัด
แผลกดทับ คือ การถูกทำลายเฉพาะที่ของผิวหนังและเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ผิวหนัง มักพบบริเวณเหนือปุ่ม
กระดูก ซึ่งเป็นผลมาจากแรงกดทับที่มากกว่า 32 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับมีแรงเฉือนกระทำต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อที่
ถูกกดทับเป็นเวลานาน แผลกดทับเกิดได้จาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยจากภายใน เช่น อายุ น้ำหนัก พันธุกรรม โรค
ที่รุนแรง ซึ่งเป็นปัจจัยที่จัดการไม่ได้ ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะโภชนาการ การขยับร่างกาย อุปกรณ์
รองรับแรงกด เป็นปัจจัยที่สามารถจัดการได้ สำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยท่าคว่ำ ในห้อง
ผ่าตัดศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี ยังพบว่ามีปัญหาการเกิดแผลกดทับระยะ 1 และ 2 ถึงแม้จะมีการใช้
อุปกรณ์ลดแรงกด และให้การดูแลตามมาตรฐานสากลแล้วก็ตาม ดังนั้น การทบทวนและพัฒนาแนวทางการ
ปฏิบัติการพยาบาลในห้องผ่าตัดเพิ่มเติมให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อลดการเกิดแผลกดทับ และยกระดับ
มาตรฐานการพยาบาล ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลด้วยจิตวิญญาณที่ดีที่สุด
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ในการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง
ด้วยท่าคว่ำ
2. เพื่อประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ในการป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยผ่าตัดกระดูกสัน
หลังด้วยท่าคว่ำ
วิธีการศึกษา ในปี พ.ศ.2563 ที่ห้องผ่าตัดศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่ามีการเกิดแผลกดทับ ระดับ
ที่ 2 บริเวณลำตัวจากการจัดท่าคว่ำของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังจำนวน 1 ราย จากการผ่าตัด
ทั้งหมด 25 ราย ต่อมาในปี พ.ศ.2564 ได้มีการเก็บข้อมูล พบว่ามีการเกิดแผลกดทับระดับที่ 2 จำนวน 5 ราย จากการ
ผ่าตัดทั้งหมด 34 ราย จากสถิติพบผู้ป่วยแผลกดทับระดับที่ 2 เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติการ
พยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยท่าคว่ำ ดังตาราง