Page 608 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 608

P39

                              ชาวกาบูอุ่นใจ อยู่ไหนบอมอก็ไปหา (KABU DOCTOR DELIVERY)


                                                                 นางสาวนิยา สือนิ และนางแวแอเสาะ มาตาเจ๊ะอาแซ
                                                                     โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา เขตสุขภาพที่ 12

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา
                         โรงพยาบาลรามัน เป็นโรงพยาบาลชุมชนระดับทุติยภูมิ ขนาด 90 เตียง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอรามัน

                  จังหวัดยะลา มีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ จำนวน 98,289 คน จำนวนผู้รับบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
                  มีแนวโน้มสูงขึ้น จากสถิติผู้เข้ารับบริการผู้ป่วยนอก ปี พ.ศ. 2562 – 2565 มีจำนวน 78,041 ราย 68,571 ราย
                  93,095 ราย และ 67,518 ราย ตามลำดับ และยังเป็นโรงพยาบาลที่มีผู้รับบริการนอกพื้นที่อำเภอรามัน
                  ทั้งในจังหวัดยะลาและนอกจังหวัดยะลาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการให้บริการ พบว่า มีผู้ป่วยที่ต้องส่งต่อไปยัง

                  โรงพยาบาลศูนย์ยะลา จำนวน 10,907ราย 8,187ราย 7,031 ราย และ 5,057 ราย โดยคิดเป็นร้อยละ 13.9
                  ร้อยละ 11.9 ร้อยละ 7.5 และ ร้อยละ 7.4 แม้ปัจจุบันจะมีแพทย์เฉพาะทางประจำโรงพยาบาลจำนวน 3 สาขา
                  คือ อายุรแพทย์ 2 ท่าน กุมารแพทย์ 1 ท่าน และแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 1 ท่านแล้ว แต่ยังพบว่าผู้ป่วยยัง

                  ขาดโอกาสการรักษาในปัญหาโรคมะเร็ง โรคทางศัลยกรรม จากข้อมูลการคัดกรองตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ในปี
                  พ.ศ. 2565 คัดกรองด้วย Fit test จำนวน 2,020 ราย ผล Fit test เป็นบวก 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.8 ซึ่งใน
                  58 รายนี้ ได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscope) เพียงจำนวน 2 ราย อีก 56 ราย ที่ไม่ได้ไปส่องกล้อง
                  เกิดจากไม่อยากไปโรงพยาบาลจังหวัด เนื่องจากไม่มีลูกหลานพาไป และจากข้อมูลทางสุขภาพ มะเร็งลำไส้ใหญ่
                  เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ของชาวยะลา จึงเป็นแรงผลักดันในการปรับรูปแบบการบริการเพื่อให้คนไข้เข้าถึง

                  บริการได้อย่างมีคุณภาพ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         - เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงเข้าถึงการบริการทางด้านศัลยกรรมเพิ่มขึ้น
                         - ลดการส่งต่อไปโรงพยาบาลจังหวัด

                         - ลดระยะเวลารอคอยในการผ่าตัด
                         - เพิ่มค่า CMI ให้กับโรงพยาบาล


                  วิธีการศึกษา
                         จุดเริ่มต้น เริ่มจากปัญหาส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลจังหวัด แต่ผู้ป่วยไม่ไป จึงวิเคราะห์
                  หาสาเหตุ พบว่า เกิดจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ขาดผู้ดูแลที่สามารถพาไปได้ ความกังวล เนื่องจากไม่เคย

                  ไปรับการรักษาโรงพยาบาลจังหวัด และทำการวิเคราะห์จากข้อมูลของโรงพยาบาล พบว่า หลังจากที่มีแพทย์
                  เฉพาะทางในโรงพยาบาลรามันแล้ว 3 สาขา ได้แก่  อายุรแพทย์ กุมารแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
                  ยังพบโรคยังมีความจำเป็นต้องส่งต่อโรงพยาบาลจังหวัด ได้แก่ โรคทางศัลยกรรม โรคมะเร็ง จากนั้นวิเคราะห์
                  จุดแข็งจุดอ่อน(SWOT Analysis) พบว่าจุดแข็งของการแก้ปัญหานี้ คือ สัมพันธภาพระหว่างผู้บริหารและ

                  แพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลจังหวัด และโอกาสในการพัฒนา คือ มองผู้ป่วยเป็นจุดศูนย์กลาง (Patient
                  center) กล่าวคือเปลี่ยนจากคนไข้ไปหาหมอเป็นหมอมาหาคนไข้แทน โดยเริ่มการวางแผนหาแพทย์เฉพาะทาง
                  โดยเริ่มมีศัลยแพทย์วิสัญญีแพทย์ วิสัญญีพยาบาล เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์และเปิดให้บริการการผ่าตัด

                  ที่โรงพยาบาลรามัน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 จนได้รับการประเมินจากคณะกรรมการ ODS and MIS ให้สามารถ
                  เปิดให้บริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับได้ และมีการเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ให้เหมาะสม จัดให้มี
   603   604   605   606   607   608   609   610   611   612   613