Page 613 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 613

P44

                  ผลการศึกษา  จากที่ได้มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน และเพิ่มกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสัน
                  หลังด้วยท่าคว่ำ เพื่อลดการเกิดแผลกดทับ พบว่า



                                                     สรุปผลการพัฒนาแผนการดูแล


                                          จำนวนผู้ป่วย    ผู้ป่วยที่ไม่                         % ที่เกิด PI ระดับ 2
                        ระยะพัฒนา                                      PI ระดับ 1  PI ระดับ 2
                                          ทั้งหมด(ราย)     เกิดรอย                                  ในแต่ละปี


                         ก่อนพัฒนา             34            3            26            5             15%
                       ม.ค.-ธ.ค.2564

                       พัฒนาระยะที่ 1
                       ม.ค.-ธ.ค.2565           47            5            38            4              9%
                       พัฒนาระยะที่ 2
                          (4เดือน)

                       ม.ค.-เม.ย.2566
                       พัฒนาระยะที่ 3          64            8            52            4              6%
                          (8เดือน)
                       พ.ค.-ธ.ค.2566

                         หมายเหตุ : PI คือ Pressure Injury แผลกดทับ
                                   PI ระดับ 1 คือ ผิวหนังสมบูรณ์ มีรอยแดง ใช้มือกดแล้วไม่จางหายไม่มีแผล ไม่มีตุ่มน้ำ

                                   PI ระดับ 2 คือ ชั้นหนังแท้ถูกทำลาย มีสีชมพู แผลเปิด มีตุ่มน้ำหรือน้ำเหลืองอยู่ภายใน
                  อภิปรายผล  จากตาราง แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มแนวปฏิบัติการพยาบาลด้วยความใส่ใจ บนพื้นฐานของความรู้

                  อย่างมืออาชีพ และให้การดูแลตั้งแต่ ระยะก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด รวมทั้งมีการประสานงาน
                  การดูแลในทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย การเพิ่ม
                  ความตระหนักในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดด้วยท่าคว่ำ สามารถทำให้การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด

                  กระดูกสันหลังด้วยท่าคว่ำลดลงอย่างชัดเจน

                  สรุปและข้อเสนอแนะ การเกิดแผลกดทับในระหว่างผ่าตัดเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการเกิด
                  ให้ผลเป็น 0 ( Zero event ) ได้ เนื่องจากการเกิดแผลกดทับ มีสาเหตุจากปัจจัยจากภายในและภายนอกตัว
                  ผู้ป่วย อีกทั้งการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ป่วยในการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด เช่น การรับประทานอาหารให้ครบ
                  5 หมู่ การดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อให้ผิวหนังแข็งแรง พร้อมทั้งประสานทีมศัลยแพทย์ในการอธิบาย

                  ความเสี่ยงที่อาจเกิดแผลกดทับขึ้นได้ จากการจัดท่าผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยรับทราบ และเตรียมใจ ส่งผลให้ลด
                  อัตราการฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการตระหนักถึงกระบวนการการจัดท่าผ่าตัดที่ถูกต้องของทีมผ่าตัด
                  จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ผลลัพธ์ของการเกิดแผลกดทับ สามารถสะท้อนถึงคุณภาพของทีมบุคลากรที่มีระบบการ
                  ดูแลผู้ป่วยด้วยมิติจิตวิญญาณ ( Spiritual Healthcare in Action , SHA ) มากน้อยเพียงใดได้
   608   609   610   611   612   613   614   615   616   617   618