Page 606 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 606
P37
วิธีการดำเนินงาน /วิธีการศึกษา
- การพัฒนาบุคลากร: จัดประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติการดูแลรักษาที่สร้างขึ้นและประชุมเชิงปฏิบัติการ
ในการเข้าใช้ในระบบ A-MED และ Telemedicine
- การพัฒนาระบบงาน: จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริการผู้ป่วยในที่บ้านของ คป.สอ. รัตนบุรีและ
จัดตั้งระบบหน่วยบริการผู้ป่วยในที่บ้าน (HW) ของโรงพยาบาลรัตนบุรี
- การพัฒนาระบบเครื่องมือ: จัดทำแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยหลังการผ่าตัดไส้ติ่งแบบผ่าตัดวันเดียว
กลับและแบบผู้ป่วยในที่บ้านผู้ป่วยผู้ป่วย จัดทำใบส่งต่อผู้ป่วย จัดทำแบบประเมินและคัดกรองผู้ป่วย สมุด
ประจำตัวผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งแบบวันเดียวกลับ (ODS) และแบบ Home Ward
- การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรและจัดเก็บข้อมูล: จัดทำระบบบริหารคลังวัสดุทางการแพทย์และ
ชุดเครื่องมือตรวจวัดสัญญาณชีพผู้ป่วยในที่บ้านให้เพียงพอและพร้อมใช้ จัดทำระบบ E-Claim ให้ถูกต้อง
จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลลัพธ์ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นไส้ติ่งอักเสบและวางแผนผ่าตัด เพื่อพิจารณาเข้าสู้ระบบการผ่าตัดแบบ
วันเดียวกลับ (ODS) และ Home Ward ทั้งหมดในโรงพยาบาลรัตนบุรีเดือนกุมภาพันธ์ 2565 - 31 ตุลาคม
2566 จำนวนทั้งสิ้น 68 ราย
- ผลการคัดกรองผู้ป่วยที่ผ่านเข้าเกณฑ์ ดังนี้ ระยะก่อนผ่าตัดจำนวน 22 ราย ระยะหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น
จำนวน 20 ราย ระยะหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วยในจำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.18 (11/68)
- ผลลัพธ์ด้านเศรษฐศาสตร์สามารลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและญาติโดยเฉลี่ย 400 บาท/ราย/วัน และ
สามารถลดวันนอนโรงพยาบาล 2 วัน/ราย และเรียกเก็บกองทุนผู้ป่วยในตามระบบ DRGs ครบถ้วนทั้ง 11 ราย
คิดเป็นเงิน 136,763 บาท มี 1 AdjRW × 8,350 บาท ในผู้ป่วย HW
- ความพึงพอใจผู้ป่วยและญาติของระบบบริการในระดับมากถึงมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ย
4.45/5 คะแนน
- ผลลัพธ์ของการจัดการความปวดหลังผ่าตัด Pain score≤ 4: ระยะ 8 ชั่วโมง จำนวน 10 ราย
คิดเป็นร้อยละ 90.91 (10/11) ระยะ 12 ชั่วโมง จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 (11/11) ระยะ 24 ชั่วโมง
จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 (11/11) ระยะ 48 ชั่วโมง จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 (11/11)
และระยะ 72 ชั่วโมง จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 (11/11)
- ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด: บรรลุผลลัพธ์ทั้ง 3 ตัวชีวัดดังนี้ อัตราผู้ป่วยผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบได้รับการเยี่ยม
ประเมินและคัดกรองตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัดเพื่อวางแผนเข้าระบบผู้ป่วยในที่บ้านร้อยละ 100 อัตราผู้ป่วยหลัง
ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบที่ประเมินเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยในที่บ้านได้รับการเข้าระบบผู้ป่วยในและลงทะเบียน A-Med
ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดร้อยละ 100 และอุบัติการณ์รับผู้ป่วยกลับเข้าเตียงนอนผู้ป่วยใน (IPD) ในผู้ป่วย
หลังผ่าตัดไส้ติ่งแบบวันเดียวกลับ (ODS) แบบผู้ป่วยในที่บ้าน (HW) เท่ากับ 0 ราย
อภิปรายผล
จากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบและผ่านการประเมินก่อนผ่าตัดให้ผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
ทั้งสิ้น 68 ราย หลังผ่าตัดเสร็จประเมินซ้ำผู้ป่วยผ่าการประเมิน 11 ราย จาก 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.18
และผู้ป่วย 11 ราย หลังจากให้กลับบ้านและเข้าสู่ระบบ Home ward ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนละไม่มี
เสียชีวิตจากการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ หลังผ่าตัด มีภาวะแทรกซ้อนจากผลข้างเคียงยาแก้ปวดทำให้
มีภาวะคลื่นไส้และอาเจียนทำให้ไม่สามารถกลับบ้านได้ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการดังกล่าวสามารถเข้าสู่ระบบ
การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ซึ่งถือว่าเป็นการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยและเป็นทางเลือก
สำหรับผู้ป่วยได้