Page 644 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 644
Q30
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ที่ผ่านมาของ
โรงพยาบาลโกสุมพิสัย
2. เพื่อพัฒนาต่อยอดแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) โรงพยาบาลโกสุมพิสัย
3. เพื่อประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) โรงพยาบาลโกสุมพิสัย
วิธีการศึกษา
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลโกสุมพิสัย เป็นการวิจัยและพัฒนา
(Research and Development) มีการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดช่วงเวลา เดือน ตุลาคม 2566 ถึง
เดือน มีนาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ คือ CPG Sepsis, แบบประเมิน Sepsis โดยใช้แบบประเมิน SIRS Criteria
และ qSOFA score, Standing order ในการดูแลผู้ป่วย Sepsis /Septic Shock, แบบประเมิน S-new score
และแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Sepsis สำหรับพยาบาล (CNPG Sepsis) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือการ
แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
ผลการศึกษา
1. วิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ที่ผ่านมาของ
โรงพยาบาลโกสุมพิสัย ศึกษาสถานการณ์ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง และทบทวนข้อมูลผู้ป่วยรวมทั้งกระบวนการดูแล
จากเวชระเบียนผู้ป่วยทุกราย ปี 2562 - 2564 พบว่าอัตรา Sepsisเป็นจำนวน 103 ราย, 139 รายและ 40
ราย และอัตราการเสียชีวิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 8.88, 16.50 และ17.28 ตามลำดับ จากการ
วิเคราะห์กระบวนการการรักษาตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย Sepsis พบว่าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภายใน 1
ชั่วโมง, การปฏิบัติตาม CPG ,การทำ H/C ก่อนให้ยาปฏิชีวนะ, การให้ยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังการ
วินิจฉัย, การให้สารน้ำ 30 ml/kg/hr. ขาดการประเมินซ้ำในเวลาที่เหมาะสม และยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย
ที่กำหนดไว้ และมีศึกษาสืบค้นข้อมูลทางวิชาการและงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย Sepsis เพื่อนำมาใช้
ในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วย Sepsis
2. การพัฒนาต่อยอดแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) โรงพยาบาลโกสุมพิสัย ดังนี้
2.1 ปรับปรุงระบบ Septic shock fast track มีระบบ triage โดยการใช้ qSOFA score และ SIRS
Criteria ในการ screening เพื่อ Early detection
2.2 มีการพัฒนา CPG Sepsis ใหม่สามารถใช้งานได้ง่ายมากกว่าเดิมและปรับแนวทางปฎิบัติการ
ดูแลผู้ป่วย Sepsis / Septic Shock ตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ตามมาตรฐานวิชาชีพ Surviving Sepsis
Campaign Guideline ให้เป็นปัจจุบันคือ
- กำหนดให้ใช้ S-new score ในการ screening ผู้ป่วย Sepsis ทุกรายแทนการใช้ SOS score (เริ่มใช้
S-new score 25 พ.ค.66 และใช้ประเมินความรุนแรงและให้การรักษาพยาบาลตาม คะแนน S-new score
- กำหนดให้การ Resuscitate ด้วยการให้สารน้ำ เป็น Crystalloid Fluid resuscitation Load 1,000
cc(total 30 ml/kg) in 1hr (ในกรณี septic shock หรือ sepsis+ serum lactate > 4 mmol (36 mg/dL)
ให้ fluid 30 ml/kg) หลัง load fluid 1000 ml แต่ MAP<65mmhg พิจารณาearly vasopressor