Page 643 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 643

Q29

                                    การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

                                          โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม


                                                                       นางมยุรี ดวงแสนโว และ Sepsis care team

                                                            โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เขตสุขภาพที่ 7
                                                                                                                        ประเภท วิขาการ



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                             การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทั่วโลก รายงานสถิติองค์การอนามัยโลกพบ
                  การ เสียชีวิตจาก Sepsis ประมาณ 5,760 ล้านคน และมีผู้ป่วยมากกว่า 30 ล้านคนต่อปี และยังพบว่ามี

                  อุบัติการณ์ของการติดเชื้อมีแนวโน้มสูงมากขึ้น ส่งผลให้เกิดทุพพลภาพรวมถึงมีอัตราการตายที่สูงมาก ประเทศไทย
                  พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากSepsis ในปี 2562-2565 พบร้อยละ21.0 ,18.36, 19.01 และ 20.09 ตามลำดับ

                  และพบว่าอัตราการเสียชีวิตจากSevere sepsis ในปี 2562- 2565 พบร้อยละ 32.81 , 31.91, 34.09 และ

                  35.35 ตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข, 2565) และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตลำดับที่ 2 ของอัตราการ
                  เสียชีวิตของประชากร ปัจจุบันถึงจะมีความก้าวหน้าในการรักษาและเทคโนโลยี แต่อัตราตายของ Sepsis

                  ยังคงสูง ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวหลายอย่าง เกิดขึ้นใน

                  กระบวนการดูแลรักษาที่ล่าช้า การประเมินเฝ้าระวังอาการ เปลี่ยนแปลงไม่เป็นตามมาตรฐาน
                           โรงพยาบาลโกสุมพิสัยได้เริ่มพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย Sepsis มาตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน

                  ลักษณะการทำงานการดูแลป้องกันผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ในรูปแบบคณะกรรมการทีม Sepsis มีการ

                  ประสานงานร่วมกันระหว่างทีม PCT ทีม Sepsis  และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เครือข่าย 20 แห่งใน อ.โกสุมพิสัย
                  พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการ โดยเพิ่มศักยภาพของบุคลาการในการดูแลและคัดกรองเบื้องต้นวางระบบ fast

                  track ในการเข้ารับบริการตาม Sepsis  guideline  ของเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม นำCPG ของเครือข่าย
                  มาปรับปรุงเข้ากับบริบทของโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยภาวะ Sepsis และ Septic Shock โดยมุ่งเน้น Early

                  goal  therapy นำ SIRS  criteria  มาช่วยในการวินิจฉัย Sepsis เพื่อการส่งตรวจ investigate ที่เหมาะสม
                  และรวดเร็ว กำหนดระยะเวลาในการส่งตรวจและรอผล Lab จากการทบทวนการดูแลผู้ป่วย Sepsis  ปี 2562

                  - 2564  พบว่าอัตราSepsis และอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้น จากการวิเคราะห์กระบวนการการรักษา

                  ตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย Sepsis พบว่าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภายใน 1 ชั่วโมง, การปฏิบัติตาม CPG ,การ
                  ทำ H/C ก่อนให้ยาปฏิชีวนะ, การให้ยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลัง การวินิจฉัย, การให้สารน้ำ 30 ml/kg/hr.

                  ขาดการประเมินซ้ำในเวลาที่เหมาะสม และยังไม่บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาคุณภาพ

                  การดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะ Sepsis นี้ขึ้น เพื่อพัฒนาระบบการดูแลรักษาให้สามารถตอบสนองต่อการ
                  เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่ต้องให้การรักษาในภาวะเร่งด่วน มุ่งเน้นความปลอดภัย และผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษา

                  อย่างรวดเร็ว ทันเวลา โดยมีกระบวนการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพ
   638   639   640   641   642   643   644   645   646   647   648