Page 642 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 642
Q28
อภิปรายผล
ปัจจัยที่เป็นแรงหนุน: ความร่วมมือระหว่างทีมสหวิชาชีพที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วย
โรคหลอดเลือดสมอง ที่เข้ารับการรักษาในหอโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลโพนทอง อีกทั้งแรงสนับสนุน
จากผู้อำนวยการโรงพยาบาลและหัวหน้างานต่างๆ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือผู้ป่วยและญาติที่ให้ความร่วมมือเป็น
อย่างดี
ปัจจัยที่เป็นแรงต้าน : ตัวผู้ป่วยอาจจะมีอาการไม่สุขสบายจากพยาธิสภาพของโรค ดังนั้น ในช่วง 24
ชั่วโมงแรกของการเข้ารับการรักษาในหอโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลโพนทอง จะจัดให้ผู้ป่วยพักผ่อนบน
เตียง ไม่มีกิจกรรมจากทีมสหวิชาชีพเนื่องจากผู้ป่วยอาจจะยังไม่พร้อม
ปัญหา/ความท้าทายที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินงานและวิธีการจัดการกับความท้าทายเหล่านั้น : ปัญหา
ในการสื่อสารและประสานงานของแต่ละสหวิชาชีพในช่วงแรก เพราะเนื่องจากในระยะแรกแต่ละสหวิชาชีพจะ
เข้ามาดูแลผู้ป่วย โดยไม่ได้จัดสรรเวลาให้แน่ชัด จึงทำให้เกิดปัญหาในการประสานงานได้ และบางครั้ง
ระยะเวลาในการทำกิจกรรมที่ยาวนาน แต่ละกิจกรรมมีความหลากหลาย ส่งผลให้ผู้ป่วยเหนื่อยล้าได้ แต่ก็ถือ
เป็นความท้าทาย ทำให้ทีมสหวิชาชีพได้พูดคุย และกำหนดช่วงเวลาในการทำกิจกรรมที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมอง 1 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลโพนทอง อย่าง
เหมาะสม
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปได้ว่า Protocol Care in Stroke Unit สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยยืดหยุ่นได้ตามอาการของ
ผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับการดูแลจากทีมสหวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ ควรมีการวางแผนติดตามต่อเนื่องระยะยาว เพื่อติดตามผลการดำเนินงานภายหลังจากที่
ผู้ป่วยได้รับการดูแลตาม Protocol Care in Stroke Unit โดยติดตามผู้ป่วยและญาติว่ามีความรู้ความเข้าใจ
สามารถนำสิ่งที่ทีมสหวิชาชีพให้คำแนะนำไปใช้ในการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เพื่อไม่ให้เกิด
ภาวะแทรกซ้อนและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ โดยปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง