Page 665 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 665

R4


                                    Miracle sky high ห่างไกล Compartment syndrome


                                                นางสาวจุฬาลักษณ์ นงค์นวล, นางสุภาวิตา ชุ่มวงศ์ และ นางนภัค เพ็งพ่วง

                                                                  โรงพยาบาลอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เขตสุขภาพที่ 4
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์



                  ปีที่ดำเนินการ เดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566

                  คำสำคัญ Compartment syndrome, อาการบวม ,แขวนแขนสูง

                  สรุปผลงานโดยย่อ

                  บริบทปัญหาและสาเหตุโดยย่อ

                         กลุ่มอาการ compartment syndrome เป็นภาวะที่มีการเพิ่มขึ้นของความดันภายในเนื้อที่ที่จำกัด
                  ทำให้มีผลต่อการไหลเวียนเลือดและเนื้อเยื่อบริเวณนั้น ๆ หากไม่ได้รับการแก้ไขภายใน 72 ชั่วโมง ส่งผลให้มี

                  โอกาสเกิดเนื้อตายและสูญเสียอวัยวะในตำแหน่งดังกล่าว อาการบวมของอวัยวะส่วนปลายเป็นอาการนำลำดับแรก
                  ของกลุ่มอาการ compartment syndrome การป้องกันไม่ให้อวัยวะส่วนปลายของตำแหน่งที่กระดูกหักบวม

                  และเกิดกลุ่มอาการ compartment syndrome จึงเป็นสิ่งสำคัญ จากข้อมูลทางสถิติในหอผู้เป่วยออร์โธปิดิกส์

                  โรงพยาบาลย้อนหลัง 5 ปี (2562 - 2566) ผู้ป่วยกระดูกข้อมือและกระดูกแขนหัก จำนวน 553 ราย พบว่า
                  ผู้ป่วยกระดูกข้อมือและกระดูกแขนหัก มีจำนวนสูงติดอันดับ 1 ใน 5 ของจำนวนผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่เข้ามารับ

                  การรักษาในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลอ่างทอง ได้รับการรักษาโดยวิธีการใส่เฝือก จำนวน 294 ราย

                  และโดยวิธีผ่าตัดใส่โลหะยึดตรึงกระดูก จำนวน 289 ราย พบปัญหา มือบวม แขนบวม ร้อยละ 84 ของผู้ป่วย
                  กระดูกข้อมือและกระดูกแขนหักทั้งหมด หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ได้เห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหา

                  ดังกล่าว ได้มีการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิด compartment syndrome โดยเริ่มจาก
                  การป้องกันไม่ให้กระดูกข้อมือและแขนที่หักมีอาการบวม ,การลดบวมโดยการยกแขนที่มีอาการบวมให้อยู่ใน

                  ตำแหน่งที่สูงกว่าหัวใจและการฝึก active and passive exercise upper limb ร่วมกับการจัดกลุ่มผู้ป่วย

                  กลุ่มเสี่ยงโดยให้มีการใช้แบบประเมิน early warning signs compartment syndrome ในการเฝ้าระวัง
                  ควบคู่กับการใช้นวัตกรรม miracle sky high ร่วมกับการเก็บข้อมูลในการเฝ้าระวัง compartment syndrome

                  และการจัดกิจกรรมทางการพยาบาลเพื่อลดอาการบวมของอวัยวะส่วนปลาย

                  เป้าหมาย/วัตถุประสงค์

                         1. ป้องกันการเกิด compartment syndrome
                         2. ลดการขยายเฝือกจากอาการบวม


                  ตัววัดความสำเร็จที่สำคัญ
                         1. อัตราการเกิดภาวะ compartment syndrome

                         2. จำนวนครั้งของการขยายเฝือกเมื่อพบอาการบวม
   660   661   662   663   664   665   666   667   668   669   670