Page 668 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 668

R7


                   การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน

                                           ในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก


                                    นงลักษณ์ สุรศร, สุนันญา พรมตวง, พุทธชาติ ลวดเงิน และกัลญา อภิวัชรารัตน์

                                                                            โรงพยาบาลสุรินทร์ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                            ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         ภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน (Acute pulmonary embolism; acute PE)
                  เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง พบได้บ่อยเป็นลำดับสามของภาวะฉุกเฉินทางระบบหัวใจและหลอด

                  เลือด อาการแสดงทางคลินิกของผู้ป่วยมีได้หลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย

                  จนถึงอาการที่รุนแรง ได้แก่ หมดสติ ภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน การให้การระงับความรู้สึก
                  ในผู้ป่วยผ่าตัดที่มีโอกาสเกิดภาวะ PE ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญตั้งแต่การประเมินผู้ป่วยได้
                  ถูกต้องวางแผนการระงับความรู้สึกเหมาะสม การเฝ้าระวังและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่แสดงถึง

                  ภาวะ PE ได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่จำกัดช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที

                  สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดภาวะทุพพลภาพและการเสียชีวิตที่อาจจะเกิดขึ้น

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         พัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดกั้น

                  หลอดเลือดปอดเฉียบพลันในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก

                  วิธีศึกษา

                         การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์กลุ่มตัวอย่าง คือ วิสัญญีพยาบาล 28 คน และผู้ป่วย
                  ผ่าตัดที่ต้องรับการระงับความรู้สึกเข้ารับบริการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน (elective surgery)
                  ได้รับการระบุไว้ในตารางผ่าตัดในเวลาราชการ 58 คน การวิจัยมี 3 ระยะ คือ 1) สภาพปัญหาโดย

                  การสนทนากลุ่มกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึก 2) พัฒนา

                  รูปแบบการพยาบาลฯประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ การบริหารจัดการให้ผู้ป่วยได้รับ
                  ความปลอดภัย แนวทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลัน
                  ในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกการพัฒนาศักยภาพบุคลากร 3) การประเมินผลลัพธ์

                  ทั้งด้านผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและคุณภาพการบริการ เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรง

                  และความเที่ยงได้ค่าความเที่ยงและความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา
                  และการทดสอบที
   663   664   665   666   667   668   669   670   671   672   673