Page 669 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 669

R8


                  ผลการศึกษา
                         ผลการศึกษาพบว่าวิสัญญีพยาบาลมีคะแนนความรู้เรื่องโรคลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือด

                  ปอดเฉียบพลันสูงกว่าก่อนได้รับความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ วิสัญญีพยาบาลเห็นด้วย
                  กับรูปแบบการพยาบาลฯ

                  ในภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากและส่วนใหญ่ปฏิบัติตามรูปแบบการพยาบาลฯ ได้ถึงร้อยละ
                  99.61 ปฏิบัติได้ครบร้อยละ 100 ในการพยาบาลระยะขณะให้การระงับความรู้สึกการพยาบาล

                  ระยะหลังการรับการระงับความรู้สึกและการดูแลต่อเนื่อง สำหรับระยะที่ไม่สามารถปฏิบัติตาม
                  รูปแบบการพยาบาลได้ครบ คือ การพยาบาลก่อนระงับความรู้สึก (ร้อยละ 98.85) ซึ่งข้อที่ไม่

                  สามารถปฏิบัติได้ตามรูปแบบการพยาบาลคือ ข้อที่ 2 ประเมินเพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิด
                  PE ปฏิบัติได้เพียง ร้อยละ 89.65 ผลลัพธ์ด้านผู้รับบริการ พบว่า ผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับ

                  ความรู้สึกได้รับการดูแลตามรูปแบบการพยาบาลฯ ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงในการเกิด PE
                  ร้อยละ 89.65 เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อภาวะ PE ร้อยละ 6.89 ได้รับการอธิบายความเสี่ยงจากภาวะ

                  PE ร้อยละ 100 ได้รับการเฝ้าระวังสัญญาณชีพครบถ้วนตามที่กำหนดร้อยละ 100 ไม่มีผู้ป่วย
                  เสียชีวิตจากภาวะ PE


                  อธิปรายผล
                         ผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบการพยาบาล เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือด

                  ปอดเฉียบพลันในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับความรู้สึกพบว่า รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น
                  มี 3 องค์ประกอบ คือ การบริหารจัดการให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย แนวทางการพยาบาล

                  เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลันในผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับการระงับ
                  ความรู้สึก การพัฒนาศักยภาพบุคลากรการเพิ่มกระบวนการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ประเมินปัจจัยเสี่ยง

                  การกำหนดสัญญาณเตือนในการเฝ้าระวังแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่สงสัย/เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้น
                  หลอดเลือดปอดเฉียบพลันสอดคล้องกับการศึกษาของนัยนา สังคม พบว่าวิสัญญีพยาบาล

                  มีแนวทางการพยาบาลที่ชัดเจนสามารถคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง อีกทั้งเพิ่มการพัฒนาในระยะ
                  การเตรียมผู้ป่วยก่อนรับการระงับความรู้สึกให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับ

                  การส่งปรึกษาทีมสหสาขาทำ EKG 12 lead ส่งตรวจ D-dimer เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและสั่งการ
                  รักษาเพื่อป้องกัน เช่น การได้รับยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นต้น ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต

                  จากภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดดำ ด้านการนำไปใช้พบว่าวิสัญญีพยาบาลผู้ใช้รูปแบบ
                  การพยาบาลให้ความเห็นว่ารูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีความง่ายในการนำไปใช้ สามารถ

                  ปฏิบัติตามได้เป็นแนวทางในการดูแลให้ผู้ป่วยปลอดภัยมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ
                  การพยาบาลและปฏิบัติตามรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนามากขึ้นส่งผลให้การปฏิบัติการพยาบาล

                  ที่มีคุณภาพ (Quality Nursing Care) สอดคล้องกับผลการศึกษาในครั้งนี้ ที่พบว่าหลังใช้รูปแบบ
                  การพยาบาลเกิดผลลัพธ์ดีขึ้นทุกด้าน ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่เหมาะสมลดและป้องกัน

                  อุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดได้ ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะลิ่มเลือดอุดกั้น
                  หลอดเลือดดำที่ปอดและสอดคล้องกับการศึกษาของเยาวลักษณ์ หอมวิเศษวงศา พบว่าการพัฒนา

                  รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดปอดเฉียบพลันในผู้ป่วย
   664   665   666   667   668   669   670   671   672   673   674