Page 682 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 682
S5
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ได้รับยาน้ำมันกัญชาทั้ง 5 (สูตรใช้ภายนอก) ที่มีการติดตามผลการรักษาอย่างน้อย
1 ครั้ง จำนวน 77 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 70.13 มีอายุเฉลี่ย 51.36 ± 15.16 ปี มีระยะเวลาการเกิดโรค
สะเก็ดเงินเฉลี่ย 6.88 ± 7.95 ปี โดย 1) การประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า ก่อนการรักษาผู้ป่วยมีค่ามัธยฐาน
ความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis Area and Severity Index (PASI)) เท่ากับ 17.30 (10.20-25.00) คะแนน
(ค่า PASI > 10 คะแนน : สะเก็ดเงินความรุนแรงปานกลางถึงมาก) และค่ามัธยฐานคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคผิวหนัง
(Dermatology Life Quality Index (DLQI)) เท่ากับ 14 (8-21) คะแนน (ค่า DLQI เท่ากับ 11-20 คะแนน : มีผลกระทบ
ต่อชีวิตมาก) ในการรักษามีการแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาตำรับนี้ วันละ 2-3 ครั้ง ช่วงเช้า กลางวัน หรือเย็น จากการ
ติดตามผลการรักษาทุก 1 เดือน จำนวน 5 ครั้ง พบว่า ผู้ป่วยมีแนวโน้มของค่ามัธยฐาน PASI ลดลงทุกครั้งอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรักษา ในการติดตามครั้งที่ 5 ค่ามัธยฐาน PASI เท่ากับ 4.00
(3.10-8.00) คะแนน (ค่า PASI ≤ 10 คะแนน : สะเก็ดเงินความรุนแรงน้อย) ทั้งนี้หลังใช้ยาพบกลุ่มผู้ป่วยมีการ
ลดลงของค่า PASI ≥ 75% เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนรักษา (ประสบความสำเร็จในการรักษา (Treatment success))
10 ราย (ร้อยละ 12.99) ของผู้ป่วยทั้งหมด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 80.00 มีความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินปานกลาง
ถึงมาก และความรุนแรงน้อย ร้อยละ 20.00 มีการใช้ยาเฉลี่ย 2.80 ± 0.63 ครั้งต่อวัน และมีระยะเวลาการใช้ยา
เฉลี่ย 3.20 ± 1.61 เดือน ผู้ป่วยส่วนมากร้อยละ 70.00 ไม่มีการใช้ยาสมุนไพร และไม่มีผู้ป่วยรายใดใช้ยาแผนปัจจุบัน
ร่วมในการรักษา ซึ่งพบผู้ป่วย 1 ราย ที่มีความรุนแรงของสะเก็ดเงินน้อย มีอาการผื่นหายไปหลังจากใช้ยาต่อเนื่อง
2 เดือน วันละ 3 ครั้ง โดยไม่มีการใช้ยาอื่นๆร่วม และพบกลุ่มผู้ป่วยที่มีการลดลงของค่า PASI ≥ 50% - <75% เมื่อ
เปรียบเทียบกับก่อนรักษา (ตอบสนองปานกลางต่อการรักษา (Intermediate response to treatment)) 26 ราย
(ร้อยละ 33.77) ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งมีความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินปานกลางถึงมาก ร้อยละ 69.23 มีการ
ใช้ยาเฉลี่ย 2.69 ± 0.68 ครั้งต่อวัน และระยะเวลาการใช้ยาเฉลี่ย 3.15 ± 1.16 เดือน จากการวิเคราะห์ผล
การประเมิน PASI เพิ่มเติม โดยแยกรายละเอียดตามหัวข้อการประเมินผื่น ได้แก่ ความแดง ความหนา ความเป็นขุย
หรือสะเก็ด และขนาดผื่น แบ่งตามส่วนของร่างกายเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ศีรษะกับคอ แขน ลำตัว และขา พบว่า
ผู้ป่วยหลังใช้ยามีแนวโน้มความรุนแรงของความแดง ความนูน และขนาดของผื่นลดลงทุกครั้งและทุกส่วน
ของร่างกายอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรักษา จากส่วนใหญ่มีความรุนแรงปานกลาง ลดลงเหลือ
ความรุนแรงเล็กน้อย ส่วนความรุนแรงของขุยนั้นลดลงได้ดีบางส่วนของร่างกาย คือ แขน และศีรษะกับคอ ในการ
ติดตามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคผิวหนัง ผู้ป่วยมีค่ามัธยฐาน DLQI ลดลงต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน
เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรักษา ในการติดตามครั้งที่ 5 เท่ากับ 6 (5-10) คะแนน (ค่า DLQI เท่ากับ 6-10 คะแนน
: มีผลกระทบต่อชีวิตปานกลาง) ดังแสดงในตารางที่ 1