Page 687 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 687
S10
Theorem) หลังจากได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มแล้ว ผู้วิจัยได้นำกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) ตามเกณฑ์คัดเข้า คัดออก ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 65 ราย มาสุ่ม
อย่างง่าย( Simple Random Sampling) โดยการจับสลากแบบไม่แทนที่เลือกประชากรมากลุ่มละ 30 ราย
2 กลุ่มโดยกำหนดให้กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้น้ำมันกัญชา ทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่ากลุ่มที่ทำแผลตามปกติ และกลุ่มตัวอย่าง
มีความพึงพอใจต่อการใช้น้ำมันกัญชามากกว่าการทำแผลตามปกติ
อภิปรายผล ผู้วิจัยขออภิปรายผลการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. น้ำมันกัญชาช่วยทำให้แผลผู้ป่วยเบาหวานหายเร็วขึ้น อธิบายได้ว่า เมื่อปริมาณสิ่งคัดหลั่ง ลดลง
แผลแห้งขึ้นเกิดเนื้องอกทดแทน (Granulation) ลักษณะพื้นแผลดีขึ้น ลักษณะความลึกของแผล ปริมาณเนื้อ
ตายและการติดเชื้อ (เกรดของแผล) ลดลงจึงทำให้แผลหายเร็วขึ้น และสอดคล้องกับกลไกการออกฤทธิในการลด
การอักเสบและช่วยสมานแผลของสารสกัดกัญชา cannabidiol บังอร ศรีพานิชกุลชัย,2562)
2. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้น้ำมันกัญชาในระดับมาก เนื่องจากน้ำมันกัญชาทำให้แผล
ผู้ป่วยเบาหวานหายเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต รวมทั้งภาระการดูแลของครอบครัว
ข้อเสนอแนะ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
1. ควรจัดให้มีการอบรมเผยแพร่ความรู้ เรื่องกัญชาทางการแพทย์แก่บุคลากรทางการแพทย์ ทุกระดับ
รวมทั้งประชาชนทั่วไป เพื่อยกระดับองค์ความรู้ในเรื่องกัญชาทางการแพทย์
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการหายของแผลเบาหวานมีหลายปัจจัย พยาบาลควรจะทำงานร่วมกับงานเวชกรรม
สังคม ออกเยี่ยมบ้าน ติดตาม ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาล
ในเลือด ควบคู่กับการทำแผลผู้ป่วยเบาหวาน
3.สถานบริการพยาบาลควรจัดบริการทางเลือกในการทำแผลผู้ป่วยโดยใช้น้ำมันกัญชา เพื่อเป็นการ
เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์
แรกเจอ 13/08/66 19/08/66 29/08/66 08/09/66 16/09/66 20/09/66