Page 679 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 679

S2

                         4) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2

                  แบบบันทึกระดับความปวดและความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ส่วนที่ 3 แบบบันทึกผลข้างเคียงขณะใช้ยาสมุนไพร
                         5) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับ

                  การจ่ายยาสมุนไพร จำนวน 30 แคปซูล รับประทานยาหลังอาหาร เช้า-เย็น ในกลุ่มทดลองจะได้รับตำรับยา

                  กัญชาแก้ลมแก้เส้น และในกลุ่มควบคุมจะได้รับยาเถาวัลย์เปรียง ทำการนัดติดตามอาการหลังจากการได้รับยา
                  7 วัน ช่วงที่ 2 กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม 30 แคปซูล รับประทานยาเช่นเดิมและนัดมาติดตามใน 7 วัน ช่วงที่ 3

                  หลังจากที่รับประทานยา 2 สัปดาห์ จะไม่มีการจ่ายยาผู้ป่วยหลังจากนั้น และนัดติดตามผลอีก 7 วัน โดยรวม

                  ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 21 วัน
                         6) ระยะเวลาการเก็บข้อมูล ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567

                         7) การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
                  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและ

                  หลังพัฒนา โดยใช้สถิติ Paired sample t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

                  ผลการศึกษา

                         ข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มทดลอง เป็นเพศชาย ร้อยละ 18.61 เพศหญิง ร้อยละ 81.39
                  กลุ่มควบคุม เป็นเพศชาย ร้อยละ 13.95 เพศหญิง ร้อยละ 86.05 กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่

                  มีสถานภาพคู่ ประกอบอาชีพเกษตรกร และมีอาการปวดหลังส่วนล่างยังไม่ถึง 3 เดือน เมื่อเปรียบเทียบ

                  ระดับความปวด พบว่า ภายในกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างกลุ่ม
                  ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเปรียบเทียบความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ

                  หลัง พบว่า ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลข้างเคียง

                  ด้านการใช้ยาสมุนไพร พบว่า ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างตึง มีกลุ่มที่มีอาการตึงที่หลังและร้าวชาลงต้นขา
                  จนถึงปลายเท้า กลุ่มทดลองพบผลข้างเคียง คือ รู้สึกร้อนวูบวาบ ปัสสาวะมีกลิ่นแรงสีเข้ม ง่วง กระหายน้ำ

                  ในกลุ่มควบคุมไม่พบผลข้างเคียง

                  อภิปรายผล

                         เถาวัลย์เปรียงแคปซูลเป็นสมุนไพรเดี่ยวที่อยู่ในบัญชียาหลัก มีสรรพคุณในการลดอาการปวดเมื่อย

                  ของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังพบสารกลุ่ม Isoflavone และ Isoflavone glycoside มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ
                  และได้ถูกจัดเป็นยาที่ใช้ทดแทนยา Diclofenac ตำรับยากัญชาแก้ลมแก้เส้น ประกอบด้วย เทียนเขาว (2)

                  เทียนดำ (4) เทียนข้าวเปลือก (6) ขิง (8) เจตมูลเพลิงแดง (10) ใบกัญชา (40) และพริกไทย (80)
                  ส่วน มีสรรพคุณโดยรวมแก้ลมในเส้น บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ อาการมือเท้าชา พบว่า กลุ่มทดลองที่มี

                  อาการร้าวชา มีอาการปวดและร้าวชาลดลง อีกทั้งยาสมุนไพรกลุ่มเทียนยังมีสรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย

                  ตามร่างกายและไขข้ออีกด้วย กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังที่เพิ่มขึ้น เนื่องจาก
                  ตัวยาทั้ง 2 ชนิด มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ ลดปวด แต่ความยืดหยุ่นเกิดจากความตึงของกล้ามเนื้อที่ต้องอาศัย

                  การยืดเหยียดเข้าช่วย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อมีความอ่อนตัวเพิ่มมากขึ้น จะเป็นการช่วยเพิ่มการลดอาการปวด
                  อีกส่วนหนึ่งได้
   674   675   676   677   678   679   680   681   682   683   684