Page 685 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 685

S8

                                  การเปรียบเทียบการหายของแผลระหว่างการทำแผลตามปกติ

                                         และการใช้น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวาน


                                                                                           นางสายวารี เข็มเพชร

                                                                               โรงพยาบาลระนอง เขตสุขภาพที่ 11
                                                                                               ประเภท วิชาการ



                  ความสำคัญของปัญหา
                        โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขทุกประเทศทั่วโลก มีอัตรา

                  ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในปี 2560 ได้ทำการประเมินพบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน รวม 425 ล้านราย ทั่วโลก คาดการณ์ว่า

                  จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 629 ล้านรายทั่วโลก ในปีพ.ศ. 2588 (http:// www.hfocus.org /content /2019)
                  จากการศึกษา พบว่าอุบัติการณ์การเกิดแผล พบประมาณร้อยละ ๑ - ๔ ต่อปี (http://pr.moph.go.th/2565)

                  ในช่วงชีวิตของผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสเกิดแผลโดยเฉพาะที่เท้าสูงถึงร้อยละ 251
                        จากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี

                  มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 16,388 คน (อัตราตาย 25.1 ต่อประชากรแสนคน) ค่าใช้จ่ายด้าน

                  สาธารณสุขในการรักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยสูงถึง 47,596 ล้านบาทต่อปี
                        ข้อมูล Health Data Center (HDC) ปีงบประมาณ 2560 จังหวัดระนอง มีผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 550 ราย

                  คิดเป็นอัตราป่วย 304.62 ต่อ ประชากรแสน (นรเทพ อัศวพัชระ,2562) จากการทบทวนข้อมูลของผู้ป่วยที่มี
                  แผลเบาหวานพบว่า ต้องใช้ระยะเวลาทำแผลนานเป็นปี ส่งผลกระทบทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว เกิดภาวะทุพลภาพ

                  หรืออาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อ มีผลกระทบต่อโรงพยาบาลที่จะต้องใช้งบประมาณในเรื่องน้ำยา อุปกรณ์

                  ทำแผลและยาปฏิชีวนะ ผู้วิจัยได้ศึกษาองค์ความรู้เรื่องกัญชาทางการแพทย์จากตำรา การวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                  ได้พบว่าสารสกัด Cannabidiol ( CBD ) มีฤทธิ์ช่วยในเรื่องลดการอักเสบและช่วยสมานแผล จึงสนใจศึกษา

                  เปรียบเทียบการหายของแผลระหว่างการทำแผลตามปกติและการใช้น้ำมันกัญชา THC : CBD 1:1 ในผู้ป่วย

                  เบาหวาน และคาดหวังว่าผลการศึกษาที่ได้จะเป็นประโยชน์และเป็นทางเลือกในการเพิ่มประสิทธิภาพในการ
                  รักษาแผลเบาหวาน และลดระยะเวลาในการทำแผล เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานและครอบครัว


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                        1. เพื่อเปรียบเทียบการหายของแผลระหว่างกลุ่มที่ทำแผลปกติกับกลุ่มที่ใช้น้ำมันกัญชาในผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวาน

                        2.เพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้น้ำมันกัญชา

                  วิธีการศึกษา อธิบายรูปแบบการศึกษา การกำหนดตัวอย่าง และวิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง วิธีวิเคราะห์

                  ข้อมูล/สถิติที่ใช้

                        การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi -Experimental Research Design) เปรียบเทียบ
                  สองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two – Croups Pre – Post Test)

                        ประชากร คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นแผลเบาหวาน โดยใช้ Wagner-Meggitt
                  classification ประเมินความรุนแรงของแผล ตั้งแต่เกรด 0 ถึง เกรด 5 ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้ารับ
   680   681   682   683   684   685   686   687   688   689   690