Page 683 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 683

S6

                         2) การประเมินด้านความความปลอดภัย พบรายงานผู้ป่วยมีอาการไม่พึงประสงค์เพียง 1 ราย
                  (ร้อยละ 1.30) คือ บริเวณที่ใช้ยาผื่นสะเก็ดเงินมีอาการกำเริบขึ้น มีลักษณะแดงและนูนขึ้นเล็กน้อย เป็นอาการ

                  ไม่รุนแรง แพทย์แผนไทยแนะนำให้หยุดใช้ยา ผู้ป่วยมีอาการผื่นกำเริบลดลงและหายไป























                  อภิปรายผล

                         จากผลการศึกษายาน้ำมันกัญชาทั้ง 5 (สูตรใช้ภายนอก) มีประสิทธิผลสอดคล้องกับการเก็บข้อมูล

                  ของหมอพื้นบ้านที่ใช้ยาตำรับนี้ช่วยบรรเทาโรคสะเก็ดเงิน ซึ่งการประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า ช่วยบรรเทา
                  อาการของโรคสะเก็ดเงินได้ดี ช่วยลดความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินตั้งแต่การใช้ยา 1 เดือนแรก และหลังใช้ยา

                  ต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เห็นผลชัดเจนในผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินน้อยถึงมาก ที่ผื่น

                  มีลักษณะแดง นูน และมีขุยหรือสะเก็ดหนาปานกลาง ที่มีการใช้ยาวันละ 2-3 ครั้ง ต่อเนื่อง 2-3 เดือน
                  โดยสามารถลดความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินได้ ≥ 75% และ ≥ 50% - <75% เมื่อเปรียบกับก่อนรักษา

                  ร้อยละ 12.99 และร้อยละ 33.77 ของผู้ป่วยทั้งหมด ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคผิวหนังได้
                  อันสอดคล้องกับงานวิจัยปัจจุบันที่พบว่า phytocannabinoids เป็นแคนนาบินอยด์จากธรรมชาติที่สกัด

                  ออกมาในรูปน้ำมันกัญชามีสารสำคัญเป็น THC, CBD และ cannabinoids มีผลช่วยปรับสมดุลปฏิกิริยา
                  Oxidation-Reduction Reaction และการอักเสบ (pro-inflammatory cytokines) ส่งผลให้เกิดสาร

                  ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งลดการอักเสบเรื้อรัง เป็นตำรับยาที่มีความปลอดภัยสูง แต่อย่างไรก็ตามการรักษาโรค

                  สะเก็ดเงินให้ประสบความสำเร็จนอกจากจะใช้ยาที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆที่ส่งเสริม
                  ให้อาการกำเริบควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถคุมอาการและมีผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้น
   678   679   680   681   682   683   684   685   686   687   688