Page 678 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 678

S1

                   เปรียบเทียบผลการใช้ตำรับยากัญชาแก้ลมแก้เส้นกับเถาวัลย์เปรียง ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหลังตึง

                              โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

                                                                        พงษ์พิพัฒน์ จงเพ็งกลาง และสกรรจ เชื้อมาก

                                                            โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิม
                  พระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ให้บริการผู้ป่วยทางด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย และนวดไทย

                  ซึ่งมีอันดับกลุ่มอาการ 3 อันดับแรก ได้แก่ ปวดหลังส่วนล่าง, ปวดขา และปวดบ่า ร้อยละ 48.24, 25.61 และ
                  14.32 ตามลำดับ โดยหัตถการส่วนใหญ่จะเป็นการนวดไทยและจ่ายยาที่มีความเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ ได้แก่

                  เถาวัลย์เปรียงและตำรับยากัญชาแก้ลมแก้เส้น แต่กลับพบปัญหาในผู้ป่วยบางกลุ่มที่ไม่สามารถทำหัตถการ

                  นวดไทยได้ เนื่องจากจำนวนของผู้ให้บริการมีจำนวนน้อย และหากต้องนัดรักษาจะต้องใช้เวลาข้ามวัน หรืออาจ
                  เป็นสัปดาห์ถัดไป ผู้ป่วยจึงประสงค์ขอรับยาสมุนไพรไปรับประทาน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ที่ให้เกิดกับผู้รับบริการ

                  สูงสุด ผู้ศึกษาจึงประสงค์เปรียบเทียบผลการใช้ตำรับยากัญชาแก้ลมแก้เส้นกับเถาวัลย์เปรียง ในผู้ป่วย

                  กล้ามเนื้อหลังตึง โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

                  วัตถุประสงค์การศึกษา

                         1) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ตำรับยากัญชาแก้ลมแก้เส้นกับเถาวัลย์เปรียง ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหลังตึง
                  โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อใช้กับผู้ป่วยให้เหมาะสมมากที่สุด

                         2) เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนความปวด และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ภายในกลุ่มและ
                  ระหว่างกลุ่ม ก่อนและหลังการทดลอง


                  วิธีการศึกษา
                         1) รูปแบบการศึกษา เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-experimental) 2 กลุ่ม เปรียบเทียบ

                  ก่อนและหลังการทดลอง

                         2) กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้กำหนดขอบเขตด้านประชากร คือ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหลังตึงที่เข้ารับ
                  การรักษาที่คลินิกการแพทย์แผนไทย จำนวน 163 คน จากนั้นสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

                  กลุ่มละ 43 คน จากการคำนวณโดยใช้สูตรเพื่อหากลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม
                         3) หลักเกณฑ์คัดเลือก เกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ แพทย์หรือแพทย์แผนไทยวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยกล้ามเนื้อ

                  หลังตึง, ประสงค์เข้ารับการรักษาทางการแพทย์แผนไทย, ไม่ได้รับประทานยาแก้ปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อ

                  มาก่อน และมีระดับความปวดอยู่ที่ 5-7 คะแนน เกณฑ์คัดออก คือ ไม่ประสงค์เข้าร่วมวิจัยกลางคันหรือ
                  ย้ายถิ่นฐานขณะเข้าร่วมการศึกษา
   673   674   675   676   677   678   679   680   681   682   683