Page 688 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 688
S11
การเปรียบเทียบอาการปวด ก่อนและหลังการใช้น้ำมันกัญชา (อ.เดชา)
ในกลุ่มผู้ป่วย Palliative care ในอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
นางศรุดา เพ็งสวย
โรงพยาบาลสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เขตสุขภาพที่ 3
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ปัจจุบันสารสกัดกัญชาได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์มากขึ้น ด้วยหวังประโยชน์ในการรักษาโรค
และบรรเทาอาการต่าง ๆ จากการที่มีหลายงานวิจัยที่กล่าวถึงประโยชน์ของการใช้สารดังกล่าว สำหรับผู้ป่วย
หลายคนมีความคาดหวังในการใช้สารสกัดกัญชาเมื่อไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดด้วยการรักษา
ตามมาตรฐาน ในขณะที่แพทย์หลายคนยังมีความกังวลถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการใช้ ดังนั้น
การตัดสินใจในการเริ่มให้การรักษาด้วยสารสกัดจากกัญชาควรขึ้นอยู่กับการให้ข้อมูล รวมทั้งการตัดสินใจ
ร่วมกันระหว่างแพทย์และตัวผู้ป่วย (informed and share decision making) บนพื้นฐานของความเป็นจริง
(Being realistic by considering time and resources) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วย
จากการทบทวนมีหลายงานวิจัยที่กล่าวถึงการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ เช่น งานวิจัยเรื่อง
Prospective Analysis of Safety and Efficacy of Medical Cannabis in Large Unselected Population
of Patients With Cancer ที่ศึกษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะประคับประคองในประเทศอิสราเอล ซึ่งส่วนใหญ่
ได้นำมาใช้บรรเทาอาการนอนไม่หลับร้อยละ 78.4 อาการปวด ร้อยละ 77.7 อาการอ่อนเพลียร้อยละ 72.7
คลื่นไส้อาเจียน ร้อยละ 64.6 และรับประทานอาหารไม่ได้ ร้อยละ 48.9 โดยพบว่าจากใช้สารสกัดกัญชา
เป็นระยะเวลา 6 เดือน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ร้อยละ 95.9 ในขณะที่พบ side effect เกิดขึ้น ร้อยละ 30.0
ซึ่งไม่ได้เป็นอาการข้างเคียงที่รุนแรง ได้แก่ อาการเวียนศีรษะ ปากแห้ง ง่วงนอน เป็นต้น นอกจากนี้
ในการศึกษาเรื่อง Use of medical cannabis in cancer patient ที่ศึกษาการใช้สารสกัดกัญชาในผู้ป่วย
มะเร็ง พบว่าภายหลังการใช้ 4 เดือน ผู้ป่วยมีอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะเดียวกันผู้ป่วย
มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ร้อยละ 66.7
บริบทของผู้ป่วยประคับประคองที่มารักษาในโรงพยาบาลสรรคบุรีในโรงพยาบาลสรรคบุรีมีบริการ
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้กัญชา มีการจ่ายสารสกัดกัญชาทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ต่าง ๆ
ในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งเริ่มเปิดบริการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ต่อมาหลังจากที่มีการส่งแพทย์
หลายคนไปอบรมหลักสูตรการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ ก็เริ่มมีการขยายบริการไปในคลินิก
ระงับปวด (Pain clinic) และคลินิกประคับประคอง (Palliative care clinic) นอกจากนี้ ยังให้บริการกัญชา